โฮโมอิเร็กตัส

โฮโมอิเร็กตัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Homo erectus, แปลว่า "มนุษย์ที่ยืนตรง" มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า ērigere ซึ่งแปลว่า ตั้งให้ตรง) เป็นสปีชีส์ของมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่มีชีวิตอยู่เกือบทั้งสมัยไพลสโตซีน โดยมีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ 1.9 ล้านปีก่อน และหลักฐานที่ใหม่ที่สุดที่ 27,000 ปีก่อน[A]เป็นสกุลที่เกิดในแอฟริกาและได้ย้ายถิ่นฐานกระจายไปจนถึงจอร์เจีย อินเดีย ศรีลังกา จีน และเกาะชวา[3][4]

Homo erectus
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 2–0.1Ma สมัยไพลสโตซีนตอนต้น–สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย[1]
โครงกระดูกสร้างขึ้นใหม่จากตัวอย่างที่พบในเทศบาลโตตาแวล ประเทศฝรั่งเศส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ:อันดับวานร
อันดับย่อย:ฉบับร่าง:Haplorhini
อันดับฐาน:Simiiformes
วงศ์:ลิงใหญ่
เผ่า:โฮมินินิ
สกุล:โฮโม
ชื่อทวินาม
Homo erectus
(Dubois, 1892)
ชื่อพ้อง

นักวิชาการยังไม่มีมติร่วมกันเกี่ยวกับการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับสกุลบรรพบุรุษ และเกี่ยวกับสกุลลูกหลานของ H. erectus แต่มีการจำแนกชั้นเป็นสองอย่างในปัจจุบันคือ

  • เป็นอีกชื่อหนึ่งของมนุษย์สกุล H. ergaster และดังนั้น ก็จะเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของมนุษย์สกุลหลัง ๆ รวมทั้ง H. heidelbergensis, H. neanderthalensis, และ Homo sapiens
  • หรือว่าเป็นชื่อของสปีชีส์ที่มีในทวีปเอเชีย และเป็นสปีชีส์ต่างหากจาก H. ergaster ซึ่งอยู่ในแอฟริกา[3][5] (ดูสาระสำคัญของทฤษฎีต่าง ๆ ในบทความวิวัฒนาการของมนุษย์)

นักบรรพมานุษยวิทยาบางท่านพิจารณา H. ergaster ว่าเป็นบรรพบุรุษของ H. erectus ที่อยู่ในแอฟริกาและดังนั้นจึงมีการใช้ศัพท์ว่า "Homo erectus sensu stricto" สำหรับ H. erectus ซึ่งเป็นสกุลลูกหลานที่อยู่ในเอเชียและคำว่า "Homo erectus sensu lato" สำหรับสปีชีส์ที่รวมทั้งกลุ่มบรรพบุรุษในแอฟริกา (H. ergaster) และกลุ่มลูกหลาน (H. erectus) ในเอเชีย[6][7]

ในปี ค.ศ. 2013 มีการตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะที่ค้นพบในโบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจีย เขตคอเคซัส (Dmanisi skull 5 หรือ D4500)[8]เนื่องจากพบว่า มีความแตกต่างกันโดยสัณฐานในระดับสูงของกะโหลกศีรษะต่าง ๆ ที่พบ นักวิจัยจึงได้เสนอว่า สปีชีส์ต่าง ๆ ของบรรพบุรุษมนุษย์รวมทั้ง H. ergaster, H. heidelbergensis และแม้กระทั่ง H. habilis ความจริงแล้วเป็นสปีชีส์เดียวกันคือ H. erectus[9][10]

กำเนิด

Homo erectus - พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ณ เมืองแอนน์อาร์เบอร์ รัฐมิชิแกน ให้สังเกตสันคิ้วที่ใหญ่

สมมติฐานแรกเสนอว่า H. erectus ย้ายถิ่นฐานออกจากแอฟริกาในต้นสมัยไพลสโตซีน ซึ่งอาจจะสืบเนื่องกับทฤษฎีปัมพ์สะฮารา (Sahara pump theory) ที่แสดงว่าทะเลทรายสะฮาราบางครั้งมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะข้ามได้ ประมาณ 2 ล้านปีก่อน แล้วได้กระจัดกระจายไปทั่วโลกเก่าคือได้มีการพบซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ มีอายุประมาณ 1.8 ถึง 1 ล้านปีก่อน ในแอฟริกา (เช่นทะเลสาบ Lake Turkana[11] และโกรกธาร Olduvai Gorge บริเวณประเทศเคนยา)ประเทศจอร์เจีย ประเทศอินโดนีเซีย (เช่น โบราณสถาน Sangiran ในเกาะชวากลาง และโบราณสถาน Trinil ในเกาะชวาตะวันออก)ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน (เช่น ที่มณฑลส่านซี) และประเทศอินเดีย[12]

ส่วนสมมติฐานที่สองเสนอว่า H. erectus เกิดวิวัฒนาการขึ้นในทวีปยูเรเชียแล้วจึงอพยพเข้าไปในแอฟริกาคือ ได้อยู่ในเขตคอเคซัสที่ Dmanisi ในเขตประเทศจอร์เจียปัจจุบันระหว่าง 1.85 ถึง 1.77 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นไปในช่วงเวลาเดียวกันหรือก่อนกว่ากันเล็กน้อยกับหลักฐานเก่าที่สุดที่พบในแอฟริกาหลักฐานที่พบรวมทั้ง เครื่องมือหิน 73 ชิ้นใช้ในการตัดและการสับ และชิ้นกระดูก 34 ชิ้นจากสัตว์ที่ยังไม่ได้ระบุ[13][14]

การค้นพบและซากดึกดำบรรพ์ตัวแทน

ในปี ค.ศ. 1886 แพทย์กายวิภาคชาวดัตช์ ยูจีน ดูบัวส์ ผู้มีความสนใจอย่างยิ่งในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินโดยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ได้เดินทางไปยังทวีปเอเชีย (ซึ่งเป็นที่ที่เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ในสมัยนั้น แม้ดาร์วินจะไม่เห็นด้วย) เพื่อจะค้นหาสัตว์บรรพบุรุษของมนุษย์ในปี ค.ศ. 1891 ทีมของเขาได้พบซากดึกดำบรรพ์มนุษย์บนเกาะชวา ซึ่งในเวลานั้นเป็นอาณานิคมของชาวดัตช์ (ปัจจุบันเป็นเขตของประเทศอินโดนีเซีย)ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อสปีชีส์ว่า Pithecanthropus erectus (จากคำกรีกโบราณว่า πίθηκος เขียนเป็นอักษรโรมันว่า pithecos แปลว่า เอป และคำว่า ἄνθρωπος เขียนเป็นอักษรโรมันว่า anthropos แปลว่า มนุษย์)เป็นการค้นพบยอดกะโหลกศีรษะ (skullcap) และกระดูกต้นขา ซึ่งมีสัณฐานคล้ายกับของ H. sapiens โดยพบที่ฝั่งแม่น้ำโซโลที่โบราณสถาน Trinil ในเกาะชวาตะวันออก แม้ว่าปัจจุบันนี้จะจัดซากดึกดำบรรพ์นี้ในสกุล H. erectusซากที่ค้นพบนี้ปัจจุบันรู้จักกันว่า "มนุษย์ชวา"

แต่ว่า การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์สกุลนี้ที่โดดเด่นที่สุดในยุคต้น ๆ เกิดขึ้นที่โบราณสถานโจวโข่วเตี้ยนในประเทศจีนซึ่งเริ่มในปี ค.ศ. 1921 โดยที่นักกายวิภาคชาวแคนาดาเดวิดสัน แบล็ก ได้พรรณนาถึงฟันกรามล่างอันหนึ่ง ซึ่งจัดให้อยู่ในสปีชีส์ Sinanthropus pekinensis (จากคำว่า sino- ซึ่งเป็นคำอุปสรรคจากคำกรีกว่า Σίνα แปลว่า จีน และคำละตินว่า pekinensis แปลว่า "ของปักกิ่ง") ในเวลานั้นและต่อมา นักกายวิภาคชาวเยอรมัน Franz Weidenreich ก็ได้ทำคำพรรณนาอย่างละเอียดละออไว้ในบทความเฉพาะเรื่องในวารสาร Palaeontologica Sinica (Series D)แต่โชคไม่ดีว่า ซากดึกดำบรรพ์ดั้งเดิมที่พบในจีนทั้งหมดนี้ตอนหลังอันตรธานไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแม้ว่า จะมีรูปหล่อดั้งเดิมที่ Weidenreich ได้ทำไว้ โดยปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกันในนครนิวยอร์ก และที่สถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology) ในนครปักกิ่ง ซึ่งพิจารณาว่าเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้

ตลอดเกือบทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักมานุษยวิทยาได้ทำการอภิปรายเรื่องบทบาทของ H. erectus ในวิวัฒนาการของมนุษย์แต่ว่า เพราะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่เกาะชวาและโจวโข่วเตี้ยนได้ก่อนจึงเชื่อกันว่า มนุษย์ปัจจุบันเกิดวิวัฒนาการขึ้นก่อนในเอเชียแต่ว่า นักธรรมชาตินิยมหลายคนรวมทั้งดาร์วิน ได้พยากรณ์ว่า บรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์จะอยู่ในแอฟริกาคือ ดาร์วินได้ชี้ว่า ลิงชิมแปนซีและกอริลลา ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด อยู่ในแอฟริกาเพียงเท่านั้น[15]

ต่อจากนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950-1970 ก็มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์มากมายในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งแสดงหลักฐานว่า สายพันธุ์มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดมีกำเนิดจากแอฟริกาเดี๋ยวนี้ นักวิชาการเชื่อว่า H. erectus เป็นสกุลลูกหลานของสายพันธุ์มนุษย์สกุลอื่น ๆ เช่น Ardipithecus หรือ Australopithecus หรือมนุษย์สกุล Homo อื่น ๆ เช่น H. habilis หรือ H. ergasterแต่ว่า ทั้ง H. habilis และ H. erectus ต่างก็มีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันเป็นเวลาหลายพันปี ดังนั้น จึงอาจจะเป็นสายพันธุ์ที่แยกจากกันแต่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน[16]

นักมานุษยวิทยาจอห์น โรบินสัน และรอเบิร์ต บรูม ได้บัญญัติชื่อสปีชีส์ชื่อว่า Telanthropus capensis ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่เดี๋ยวนี้เชื่อว่า อยู่ในสปีชีส์ H. erectus[17] คือ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 โรบินสันได้ค้นพบชิ้นส่วนขากรรไกรหมายเลข SK 45 ที่เขตมรดกแห่งชาติ Swartkrans ในประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ซิโมเน็ตตาก็ได้เสนอให้จัดอยู่ในสปีชีส์ H. erectus และโรบินสันก็ตกลงเห็นด้วยในปี ค.ศ. 1961[18]

Dmanisi skull 3 ซึ่งรวมกะโหลกศีรษะ D2700 และขากรรไกร D2735 ซึ่งเชื่อว่ามาจากคนเดียวกัน เป็นกระดูกสองชิ้นที่พบในโบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจีย เขตคอเคซัส

ในปี ค.ศ. 1961 นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส Yves Coppens พบกะโหลกศีรษะซึ่งเขาบัญญัติชื่อสปีชีส์ว่า Tchadanthropus uxoris ในประเทศชาด แอฟริกา ซึ่งในเวลานั้นเป็นซากดึกดำบรรพ์มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในแอฟริกาเหนือ[19] โดยที่กะโหลกที่พบนั้น "ถูกลมทรายกัดกร่อนจนกระทั่งมีรูปสัณฐานเหมือนกับ australopith ซึ่งเป็นสายพันธุ์มนุษย์ที่เก่าแก่สายหนึ่ง"[20] แม้ว่าในตอนแรก ๆ จะมีการพิจารณาว่าเป็นตัวอย่างของ H. habilis[21] แต่ปัจจุบันนี้ เชื่อว่าเป็นตัวอย่างของ H. erectus[19][22]

Homo erectus georgicus

Homo erectus georgicus (จอร์เจีย: ქართველი ადამიანი) บางครั้งใช้เป็นชื่อสปีชีส์ย่อยหมายถึงกะโหลกศีรษะและขากรรไกรที่พบในโบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจียแม้ว่าในตอนแรกจะเสนอว่าเป็นสปีชีส์ต่างหาก เดี๋ยวนี้ก็จัดอยู่ในสปีชีส์ H. erectus[23][24][25] มีการพบส่วนกะโหลกศีรษะในปี ค.ศ. 2001 และส่วนกะโหลกศีรษะอีก 5 กะโหลกระหว่างปี 1991-2005 โดยพบกะโหลกที่สมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2005 ที่มีหมายเลข D4500ซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ล้วนมีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีก่อนโดยพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1991 โดยนักมานุษย์วิทยาชาวจอร์เจีย David Lordkipanidze พร้อมกับลูกทีมนานาชาติที่ขุดชิ้นส่วนขึ้นมาได้ทั้งหมดมีสมมติฐานมากมายเกี่ยวกับการย้ายไปอยู่ในเขตจอร์เจียของ H. erectus georgicus[26] และมีการพบทั้งสิ่งประดิษฐ์และกระดูกสัตว์ใกล้ ๆ กับกระดูกมนุษย์

ในตอนแรก ๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เป็นขากรรไกรล่างและกะโหลกศีรษะของมนุษย์สกุล H. ergasterแต่ว่า เพราะมีขนาดที่แตกต่างกัน ต่อมาจึงตั้งขึ้นเป็นสปีชีส์ใหม่ว่า H. georgicusพร้อมกับการตั้งสันนิษฐานว่า เป็นสกุลลูกหลานของสกุล H. habilis และสกุลบรรพบุรุษของ H. erectus แถบเอเชียแต่ว่า การจัดสปีชีส์เช่นนี้ต่อมาก็เลิกล้มไป และปัจจุบัน พิจารณาว่า เป็นกลุ่มย่อยของสกุล H. erectus ซึ่งบางครั้งเรียกว่า Homo erectus georgicus[27][28][29][30]

ตำแหน่งของโบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจีย

กะโหลกศีรษะ D2700 ที่มีขนาดสมองประมาณ 600 ซม3 มีอายุประมาณ 1.77 ล้านปีก่อน และอยู่ในสภาพที่ดีได้ให้ความเข้าใจที่ดีเมื่อเทียบกับสัณฐานของกะโหลกศีรษะมนุษย์ปัจจุบันในช่วงที่ค้นพบ กะโหลกนี้เล็กที่สุดและมีสัณฐานดั้งเดิมที่สุดในบรรดากะโหลกมนุษย์สมัยไพลสโตซีนแต่ในปัจจุบัน กะโหลกที่พบในโบราณสถานเดียวกัน คือ Dmanisi skull 5 ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2013 ได้รับเกียรติยศนี้

ต่อจากนั้น กะโหลกศีรษะอีก 4 กะโหลกก็มีการค้นพบ แสดงถึงสปีชีส์ที่มีกะโหลกและกายส่วนบนที่มีลักษณะเก่าแก่ดั้งเดิม (primitive) แต่มีกระดูกสันหลังและส่วนขาที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเดินทางไปได้ไกล ๆ ยิ่งขึ้นแต่ว่า กะโหลกเหล่านี้เชื่อว่า ไม่ใช่เป็นสปีชีส์ต่างหาก แต่เป็นสปีชีส์ต้น ๆ หลังจากการวิวัฒนาการมาจาก H. habilis ไปสู่ H. erectusและมีอายุประมาณ 1.8 ล้านปีก่อน[24][31] ซากต่าง ๆ ที่ค้นพบรวมทั้งขากรรไกรล่างที่ใหญ่ที่สุดของสกุล Homo สมัยไพลสโตซีน (D2600) ขากรรไกรล่างที่เล็กที่สุด (D211) โครงกระดูกเกือบสมบูรณ์ของเด็ก (D2735) และตัวอย่างบุคคลที่ฟันหลุดออกไปแล้วทั้งหมด (edentulous specimen หมายเลข D3900)[32]

ส่วนกะโหลกที่ได้รับการพรรณนาในผลงานวิจัย ปี ค.ศ. 2013 คือ Dmanisi skull 5 หมายเลข D4500 เป็นกะโหลกศีรษะแบบสมบูรณ์กะโหลกเดียวที่เคยพบในบรรดามนุษย์ในสมัยไพลสโตซีนต้น ๆ[9]เป็นกะโหลกที่มีกระดูกหุ้มสมองที่เล็กที่สุดที่พบ ณ โบราณสถานแห่งนี้ มีขนาดเล็กว่า 546 ซม3 เพียงเล็กน้อยความแตกต่างที่พบในกะโหลกศีรษะเหล่านี้ กระตุ้นให้ผู้ทำงานวิจัยตรวจสอบความแตกต่างที่พบในระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและในระหว่างลิงชิมแปนซีนักวิจัยจึงพบว่า แม้ว่า กะโหลกเหล่านี้จะปรากฏโดยต่าง ๆ กันแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ไม่ได้มีระดับเกินกว่าที่พบในบรรดามนุษย์ปัจจัยหรือบรรดาลิงชิมแปนซีและดังนั้น จึงบอกเป็นนัยว่า กะโหลกศีรษะก่อน ๆ ที่พิจารณาว่า เป็นของสปีชีส์ต่าง ๆ กันเพราะมีความต่าง ๆ กันเช่นของ H. rudolfensis, H. gautengensis, H. ergaster และอาจจะรวม H. habilis ด้วยอาจตีความหมายอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เป็นเชื้อสายเดียวกันกับ H. erectus[33]

การจัดสปีชีส์และลักษณะเฉพาะ

นักบรรพมานุษยวิทยายังไม่มีมติร่วมกันในการจัด H. erectus และ H. ergaster เป็นสปีชีส์ต่างกันนักวิชาการบางท่านเสนอให้เลิกใช้สปีชีส์ H. erectus และเรียกซากดึกดำบรรพ์เช่นเดียวกันนี้ว่าเป็น archaic Homo sapiens (มนุษย์โบราณ)[34][35][36][37] ส่วนบางท่านเรียก H. ergaster ว่าเป็นบรรพบุรุษแอฟริกาของ H. erectus และเสนอว่า ได้อพยพออกจากทวีปแล้วเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ต่างหาก[38] บางท่านไม่ใช้คำบัญญัติว่า H. ergaster เลย คือเรียกซากดึกดำบรรพ์เช่น Turkana Boy และมนุษย์ปักกิ่งว่าเป็น H. erectus เหมือนกัน[ต้องการอ้างอิง] แม้ว่า "H. ergaster" จะมีการยอมรับบ้างแล้วว่าควรจะเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน (taxon) ต่างหากแต่ว่า คำสองคำนี้ ก็เป็นการใช้เรียกสปีชีส์เดียวกันที่อยู่ในแอฟริกาและในเอเชีย

แม้ว่า นักวิชาการบางท่านจะยืนยันว่า วิธีการจัดสปีชีส์ของ Ernst Mayr (ว่าสัตว์สปีชีส์เดียวกันคือกลุ่มสัตว์ที่ผสมพันธุ์กันได้และอยู่แยกจากกลุ่มสัตว์อื่น) ไม่สามารถใช้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานต่าง ๆ เหล่านี้แต่ว่า เราก็ยังสามารถตรวจสอบระดับความแตกต่างทางสัณฐานของกะโหลกศีรษะต่าง ๆ ที่จัดว่าเป็น H. erectus หรือ H. ergasterแล้วเปรียบเทียบกับระดับความแตกต่างที่พบในกลุ่มไพรเมตต่าง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่อยู่กระจัดกระจายไปในภูมิภาคที่คล้าย ๆ กัน หรือมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการกันอย่างใกล้ชิดดังนั้น ถ้าความแตกต่างระหว่าง H. erectus และ H. ergaster อยู่ในระดับที่สูงกว่าที่พบในสัตว์สปีชีส์เดียวกัน เช่น ลิงมาคาก H. erectus และ H. ergaster ก็อาจสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นสปีชีส์ต่างหากกัน

แต่ว่า สัตว์แบบจำลองที่ใช้ในการเปรียบเทียบนี้สำคัญมาก และการเลือกสปีชีส์มาเป็นแบบนั้นอาจจะยาก(ยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างทางสัณฐานของมนุษย์ปัจจุบันทั้งโลกนั้น มีระดับที่ต่ำมาก[39]และดังนั้น ระดับความแตกต่างของสปีชีส์เราเองนั้น อาจจะไม่ใช่ตัวเปรียบเทียบที่ดี)ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ก็คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในโบราณสถาน Dmanisi ตอนแรกยกว่า เป็นของอีกสปีชีส์หนึ่งที่เป็นญาติกัน คือ H. georgicusแต่ตัวอย่างที่พบต่อ ๆ มากลับแสดงว่า ระดับความแตกต่างที่มี อยู่ในขอบเขตของ H. erectus และดังนั้น เดี๋ยวนี้จึงจัดว่าอยู่ในสปีชีส์ย่อย H. erectus georgicus

H. erectus มีขนาดกะโหลกศีรษะที่ใหญ่กว่า H. habilis (แม้ว่า ตัวอย่างจากโบราณสถาน Dmanisi จะค่อนข้างเล็ก)ตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดมีกะโหลกศีรษะขนาด 850 ซม3 และตัวอย่างใหม่ที่สุดที่พบในเกาะชวามีขนาด 1,100 ซม3[39] ซึ่งคาบกับขนาดสมองของมนุษย์ปัจจุบันกระดูกหน้าผากของ H. erectus ลาดเอียงน้อยกว่า และส่วนโค้งของฟันเล็กกว่า ที่พบใน australopithecine (ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus)ใบหน้านั้นยื่นออกไปน้อยกว่าที่พบใน australopithecine และ H. habilisโดยมีสันคิ้วที่ใหญ่ และกระดูกโหนกแก้ม (zygoma) ที่เล็กกว่ามนุษย์ยุคต้น ๆ เหล่านี้สูงประมาณ 1.79 เมตร (5 ฟุต 10 12 นิ้ว)[40] (มีชายปัจจุบันประมาณ 17% เท่านั้นที่สูงกว่า)[41] และผอมมาก รวมทั้งมีแขนขายาว[42]

ความแตกต่างระหว่างเพศ (sexual dimorphism) ชายและหญิง อยู่ในระดับที่สูงกว่ามนุษย์ปัจจุบันโดยชายมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 25%แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสกุลสายพันธุ์มนุษย์ Australopithecusการค้นพบโครงกระดูกหมายเลข KNM-WT 15000 ที่เรียกว่า Turkana boy (จัดเป็น H. ergaster) พบที่ทะเลสาบ Lake Turkana ประเทศเคนยา โดยริชาร์ด ลีกคีและคณะในปี ค.ศ. 1984เป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดโครงหนึ่งที่เคยค้นพบ และเป็นประโยชน์มากในการตีความหมายกระบวนการวิวัฒนาการทางสรีรภาพของมนุษย์

ส่วนที่เหลือของบทความนี้ จะใช้ศัพท์ว่า Homo erectus หมายถึงซากดึกดำบรรพ์ ทั้งที่จัดว่าเป็น H. ergaster และ H. erectus แถบเอเชีย

การใช้เครื่องมือ

H. ergaster ใช้เครื่องมือหินที่หลากหลายและสลับซับซ้อนมากกว่าสัตว์บรรพบุรุษแต่โดยเปรียบเทียบกัน H. erectus กลับใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อนน้อยกว่าคือ H. ergaster เริ่มใช้เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีแบบ Oldowan และหลังจากนั้นจึงพัฒนาไปใช้เทคโนโลยีแบบ Acheulean[43] เริ่มตั้งแต่ 1.8 ล้านปีก่อน[44]แต่ว่า H. erectus ได้แยกสายพันธุ์ออกไป 200,000 ปีก่อนที่จะเกิดการประดิษฐ์เทคโนโลยี Acheuleanดังนั้น ลูกหลานของ H. ergaster ที่อพยพออกไปทางเอเชียจึงไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเสนอว่า H. erectus อาจเป็นมนุษย์พวกแรกที่ใช้แพในการข้ามน้ำข้ามทะเล[45]

การใช้ไฟ

โบราณสถานต่าง ๆ ในแอฟริกาตะวันออก เช่นที่โบราณสถาน Chesowanja ใกล้ทะเลสาบ Lake Baringo, โบราณสถาน Koobi Fora และ Olorgesailie ในประเทศเคนยามีหลักฐานที่อาจจะแสดงการใช้ไฟของมนุษย์ในยุคต้น ๆ คือ ที่ Chesowanja นักมานุษยวิทยาได้พบเศษเครื่องปั้นดินเผาทำด้วยดินเหนียวแดงมีอายุประมาณ 1.42 ล้านปีก่อน[46] เมื่อนักวิจัยลองเผาเศษดินเหนียวเหล่านั้นใหม่ก็พบว่า จะต้องเผาจนกระทั่งถึง 400 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะให้แข็งตัวส่วนที่โบราณสถาน Koobi Fora ณ จุด FxJjzoE และ FxJj50 มีหลักฐานการควบคุมไฟโดย H. erectus เมื่อ 1.5 ล้านปีก่อนคือมีตะกอนดิน (sediment) มีสีแดง ซึ่งจะมีสีนี้ได้ก็ต่อเหมือเผาที่อุณหภูมิ 200-400 องศาเซลเซียส[46] ส่วนที่โบราณสถาน Olorgesailie มีแอ่งหลุมที่ปรากฏเหมือนกับพื้นเตาแต่ถึงแม้ว่าจะมีถ่านที่เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่ก็อาจะเป็นผลของไฟธรรมชาติ[46] ส่วนในเขต Gadeb ประเทศเอธิโอเปีย มีการพบหินตะกอนภูเขาไฟหลอม (welded tuff) ที่ปรากฏว่ามีการเผาที่จุด Locality 8E แต่ว่าการเผาที่เกิดขึ้นภายหลังของหิน อาจเกิดขึ้นเพราะกิจกรรมของภูเขาไฟที่เกิดในพื้นที่[46] หลักฐานเกี่ยวกับการใช้ไฟเหล่านี้ พบในท่ามกลางสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี Acheulean ของ H. erectusส่วนในลุ่มแม่น้ำ Middle Awash มีการพบหลุมรูปกรวยในดินเหนียวแดงที่อาจเกิดขึ้นด้วยการเผาที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียสหลุมเหล่านี้เชื่อวา เกิดจากการเผาตอไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเมื่อเดินทางไปที่อื่นนอกที่อยู่อาศัย[46] นอกจากนั้นแล้ว ยังพบหินเผาในลุ่มแม่น้ำ Middle Awash อีกด้วย แต่ก็มีการพบหินตะกอนภูเขาไฟหลอมด้วยเหมือนกัน

ส่วนที่สะพานลูกสาวของเจค็อบ (Daughters of Jacob Bridge) ประเทศอิสราเอล มีการอ้างว่า H. erectus/ergaster ได้ก่อไฟขึ้นเมื่อระหว่าง 790,000-600,000 ปีก่อน[47] นี้เป็นหลักฐานการใช้ไฟที่มีการยอมรับมากที่สุดแม้ว่า การวิเคราะห์ใหม่ของกระดูกที่มีรอยเผา และของเถ้าที่มาจากพืช ในถ้ำ Wonderwerk ประเทศแอฟริกาใต้ อาจแสดงหลักฐานว่ามนุษย์สามารถควบคุมไฟได้ตั้งแต่ 1 ล้านปีก่อน[48] หรือ 1.8 ล้านปีก่อน[49]

การหุงอาหาร

ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีว่า H. erectus หุงอาหารแต่ว่า ก็มีการเสนอทฤษฎีนี้[50] แม้ว่าจะไม่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง[51][52] แต่ว่า งานวิเคราะห์รอยสึกของขวานมือหินที่เห็นได้โดยกล้องจุลทรรศน์แสดงว่า เนื้อเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์สปีชีส์นี้แต่เนื้อสามารถย่อยได้โดยไม่ต้องหุง และบางครั้งแม้มนุษย์ในสมัยปัจจุบันก็ยังทานเนื้อดิบนอกจากนั้นแล้ว ถั่ว เบอร์รี และผลไม้ล้วนทานได้โดยไม่ต้องหุงดังนั้น จึงไม่สามารถจะสันนิษฐานได้ว่ามีการหุงอาหาร คือจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนจากโบราณสถานต่าง ๆ

สังคม

H. erectus น่าจะเป็นสายพันธุ์มนุษย์พวกแรกที่อยู่ในสังคมแบบล่าสัตว์-เก็บพืชผัก (hunter-gatherer)และนักมานุษยวิทยาต่าง ๆ รวมทั้งริชาร์ด ลีกคี ก็เชื่อว่า เป็นสังคมที่คล้ายกับของมนุษย์ปัจจุบันมากกว่าของสกุล Australopithecus ที่มาก่อนหน้านั้นนอกจากนั้นแล้ว การขยายขนาดของสมองมักจะมีไปพร้อมกับการใช้เครื่องมือหินที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นที่บางครั้งพบพร้อมกับซากดึกดำบรรพ์

การค้นพบ Turkana boy (จัดเป็น H. ergaster) ในปี ค.ศ. 1984 ให้หลักฐานว่า แม้ว่าจะมีกายวิภาคคล้ายกับ H. sapiens แต่ H. ergaster/erectus อาจจะไม่สามารถออกเสียงเหมือนกับมนุษย์ปัจจุบันที่สำคัญในการพูดH. ergaster น่าจะสื่อสารโดยภาษาแบบดั้งเดิม (proto-language) ที่ไม่มีโครงสร้างเต็มรูปแบบเหมือนกับภาษามนุษย์ปัจจุบันแต่เป็นภาษาที่พัฒนาก้าวหน้ากว่าการสื่อสารแบบไม่ได้พูดที่ใช้โดยลิงชิมแปนซี[53] แต่ว่า ข้ออนุมานนี้มีการคัดค้านโดยการค้นพบกระดูกสันหลังของ H. ergaster/erectus ที่เก่าแก่กว่า Turkana Boy ถึง 150,000 ปีในโบราณสถาน Dmanisi ที่บ่งความสามารถทางการพูดที่อยู่ในระดับเดียวกันของมนุษย์ปัจจุบัน[54] และทั้งขนาดสมองและการมีเขตสมองที่เรียกว่า Broca's area ซึ่งใช้ในการสื่อภาษา ก็เป็นหลักฐานอีกอย่างที่สนับสนุนการใช้ภาษาที่มีการออกเสียงชัดเจน (articulate language)[55]

H. erectus น่าจะเป็นสายพันธุ์มนุษย์พวกแรกที่อยู่ในสังคมแบบ band societies (สังคมแบบกลุ่มญาติพี่น้อง) ที่คล้ายกับสังคมแบบล่าสัตว์-เก็บพืชผักที่เป็นกลุ่มญาติพี่น้องเหมือนกัน[56] H. erectus/ergaster เชื่อว่าเป็นมนุษย์พวกแรกที่ล่าสัตว์โดยประสานงานกัน ใช้เทคโนโลยีหินที่ซับซ้อน และดูแลคนป่วยและคนไม่แข็งแรง

ยังไม่มีข้อยุติว่า H. erectus หรือแม้แต่ H. neanderthalensis ที่เกิดขึ้นภายหลัง[57] ได้มีการผสมพันธุ์กับมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ในยุโรปและเอเชียหรือไม่[58] (ดูรายละเอียดเพิ่มที่หัวข้อ "การผสมพันธุ์กันระหว่างมนุษย์กลุ่มต่าง ๆ" ในบทความวิวัฒนาการของมนุษย์)

สปีชีส์ลูกหลานและสปีชีส์ย่อย

H. erectus เป็นสปีชีส์มนุษย์ที่มีชีวิตสืบเนื่องกันยืนนานที่สุดในสกุล Homo คือสืบต่อกันมากว่า 1 ล้านปี เทียบกับมนุษย์ปัจจุบันที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 200,000 ปีก่อนแต่ถ้านับเพียงแค่พวกที่อยู่ในเอเชีย นักวิชาการก็ยังไม่มีมติร่วมกันว่า สปีชีส์นี้เป็นบรรพบุรุษของ H. sapiens หรือมนุษย์สกุลอื่น ๆ ที่เกิดภายหลังหรือไม่

  • Homo erectus
    • Homo erectus erectus
    • Homo erectus yuanmouensis
    • Homo erectus lantianensis
    • Homo erectus nankinensis
    • Homo erectus pekinensis (มนุษยปักกิ่ง)
    • Homo erectus palaeojavanicus
    • Homo erectus soloensis
    • Homo erectus tautavelensis
    • Homo erectus georgicus
  • สปีชีส์เครือญาติ
    • Homo ergaster
    • Homo floresiensis
    • Homo antecessor
    • Homo heidelbergensis
    • Homo sapiens
      • Homo sapiens idaltu
      • Homo sapiens sapiens (มนุษย์ปัจจุบัน)
    • Homo neanderthalensis
    • Homo rhodesiensis
    • Homo cepranensis
  • การจัดสปีชีส์ที่มีมาก่อน

การค้นพบมนุษย์สปีชีส์ Homo floresiensis ในปี ค.ศ. 2003 ที่มีการสูญพันธุ์พึ่งเกิดขึ้นไม่นาน เพิ่มความเป็นไปได้ว่า อาจมีมนุษย์สกุลลูกหลานของ Homo erectus อื่น ๆ ในเกาะต่าง ๆ ของเอเชียอาคเนย์ ที่ยังไม่มีการค้นพบ และ Homo erectus soloensis ซึ่งเป็นสปีชีส์ของมนุษย์ที่สมมุติกันมานานแล้วว่า อยู่บนเกาะชวาจนกระทั่งถึงประมาณ 50,000 ปีก่อน (แม้ว่างานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 จะปรับอายุของโบราณสถานขึ้นเป็นระหว่าง 143,000-550,000 ปี[59]) ก็จะเป็นสปีชีส์ลูกหลานของ H. erectusแต่ว่า มีนักวิทยาศาสตร์บางท่านที่ยังไม่ปักใจเกี่ยวกับข้ออ้างว่า H. floresiensis เป็นสปีชีส์ลูกหลานของ H. erectusเช่น มีคำอธิบายหนึ่งที่เสนอว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเป็นมนุษย์ปัจจุบันที่มีโรค microcephaly (โรคทางประสาทที่มีหัวเล็ก) ในขณะที่อีกคำอธิบายหนึ่งกล่าวว่า เป็นคนพิกมี (pygmies ซึ่งมักหมายถึงกลุ่มชนที่ผู้ชายโดยเฉลี่ยมีความสูงต่ำกว่า 150-155 ซ.ม.)

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ที่เดิมเรียกว่า Pithecanthropus erectus (แต่ปัจจุบันจัดเป็น Homo erectus) ที่พบในเกาะชวา ในปี ค.ศ. 1891

ซากดึกดำบรรพ์สำคัญ ๆ ของ Homo erectus มีดังต่อไปนี้

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง