มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึง รัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนา[1] หรือในหน่วยงานระหว่างประเทศ ดังเช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[2]

ประเทศมหาอำนาจ

คำว่า มหาอำนาจ (great power) มีใช้ครั้งแรกหมายถึงประเทศสำคัญ ๆ ของทวีปยุโรคในยุคหลังนโปเลียน[3] "มหาอำนาจ" ก่อตั้ง "ความร่วมมือแห่งยุโรป" (Concert of Europe) และอ้างสิทธิในการบังคับใช้สนธิสัญญาหลังสงครามร่วมกัน การแบ่งแยกระหว่างประเทศด้อยอำนาจกับมหาอำนาจมีขึ้นอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาเชามงใน ค.ศ. 1814[4] นับตั้งแต่นั้น ดุลภาพแห่งอำนาจระหว่างประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางชาติจะถูกพิจารณาว่าเป็นมหาอำนาจอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีรายชื่อจำกัดความ จึงนำไปสู่การโต้เถียงกันต่อไป

ลักษณะ

ไม่มีเกณฑ์หรือลักษณะจำกัดความของมหาอำนาจ ลักษณะเหล่านี้มักถือว่าเป็นเชิงประสบการณ์และประจักษ์ชัดในตัวของผู้ประเมิน[5] อย่างไรก็ดี ความเข้าใจนี้มีข้อเสียเรื่องอัตวิสัย ผลคือ มีความพยายามหยิบยกเกณฑ์สามัญบางข้อมาพิจารณาและจัดเป็นส่วนสำคัญของสถานภาพมหาอำนาจ

งานเขียนช่วงต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้มักตัดสินรัฐตามเกณฑ์สัจนิยม ตามที่แสดงโดยนักประวัติศาสตร์ เอ. เจ. พี. เทย์เลอร์ เมื่อเขาเขียนว่า "การทดสอบมหาอำนาจ คือ การทดสอบความเข้มแข็งในการทำสงคราม"[6] นักเขียนสมัยหลังได้ขยายการทดสอบนี้ โดยพยายามนิยามมหาอำนาจในแง่ขีดความสามารถทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองโดยรวม[7] เคนเน็ธ วอลทซ์ ผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัจนิยมใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ใช้ชุดหลักเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อระบุความเป็นมหาอำนาจ: คุณภาพ,จำนวนประชากรและลักษณะที่ตั้งของภูมิประเทศ; การบริหารทรัพยากร; ศักยภาพทางเศรษฐกิจ; ความมั่นคงและอำนาจทางการเมือง;อำนาจทางการทหาร เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ในสามหัวข้อ: ขีดความสามารถแห่งอำนาจในแง่พื้นที่ และสถานภาพ[1]

ประวัติศาสตร์

ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้มีการตั้ง 5 มหาอำนาจคือ จักรวรรดิออสเตรีย, ฝรั่งเศส, ปรัสเซีย, รัสเซีย และสหราชอาณาจักร

มหาอำนาจกับสงคราม

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรมีมหาอำนาจอยู่ 5 ประเทศคือ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, และสหรัฐ ซึ่งหลังสงครามฝ่ายมหาอำนาจกลางคือจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ที่เป็นมหาอำนาจได้พ่ายแพ้สงครามและล่มสลาย ส่วนมหาอำนาจรัสเซียที่อยู่ในฝ่ายสัมพันธมิตรก็เกิดการปฏิวัติรัสเซียจนล่มสลาย ต่อมาในการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ได้กำเนิด"บิกโฟร์" คือ ฝรั่งเศส, อิตาลี, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต ได้รวมกันเป็น"บิกทรี" ส่วนจีนได้มาเข้าร่วมในเวลาต่อมากลายเป็น"บิกโฟร์" ส่วนฝ่ายอักษะคือ เยอรมนี, อิตาลี, และญี่ปุ่น ถูกเรียกว่า"สามมหาอำนาจอักษะ" ได้พ่ายแพ้สงครามและล่มสลายไป ซึ่งหลังสงครามได้เกิดมหาอำนาจ 5 ประเทศคือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส และจีน

มหาอำนาจกับสนธิสัญญาสันติภาพ

มหาอำนาจหลังสงครามเย็น


  มหาอำนาจที่ได้เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
  มหาอำนาจที่ไม่ได้เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และ สหรัฐ ถูกเรียกว่าเป็นมหาอำนาจ โดยทั้ง 5 ชาตินั้นมีพลังอำนาจในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และยังเป็นรัฐนิวเคลียร์ที่อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย

หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจึงได้ให้รัสเซียเข้ามารับตำแหน่งสมาชิกถาวรแทน แต่รัสเซียก็ได้สูญเสียตำแหน่งอภิมหาอำนาจ จึงทำให้สหรัฐได้กลายเป็นอภิมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียว

อย่างไรก็ตาม บริบทของคำว่า มหาอำนาจ ในปัจจุบัน ได้มีการเรียกใหม่เป็น จีน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร รัสเซีย ญี่ปุ่น และ เยอรมนี ซึ่งญี่ปุ่น และ เยอรมนี ที่เป็นประเทศอำนาจปานกลาง แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่น และ เยอรมนี ก็ยังสามารถรวมอยู่ในมหาอำนาจได้

ในปัจจุบันมีมหาอำนาจคือ สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน เยอรมนี และ ญี่ปุ่น

การพัฒนามหาอำนาจ

การจัดระบบตามลำดับชั้นของมหาอำนาจ

ประเทศมหาอำนาจแบ่งตามช่วงเวลา

181518781900191919391945c. 2000c. 2010
 ออสเตรีย[nb 1]  ออสเตรีย-ฮังการี[nb 2]  ออสเตรีย-ฮังการี[nb 3]
จักรวรรดิบริติช[nb 4] จักรวรรดิบริติช[nb 5] จักรวรรดิบริติช[nb 6] จักรวรรดิบริติช[nb 7]  บริเตนใหญ่[nb 9]  บริเตนใหญ่[nb 10]  บริเตนใหญ่[nb 11]  บริเตนใหญ่[nb 12]
 จีน[nb 13]  จีน[nb 14]  จีน[nb 15]
ฝรั่งเศส[nb 16] ฝรั่งเศส[nb 17] ฝรั่งเศส[nb 18] ฝรั่งเศส[nb 19] ฝรั่งเศส[nb 20] ฝรั่งเศส[nb 21]  ฝรั่งเศส[nb 22]  ฝรั่งเศส[nb 23]
ปรัสเซีย[nb 24]  เยอรมนี[nb 25]  เยอรมนี[nb 26]  เยอรมนี[nb 27]  เยอรมนี[nb 28]  เยอรมนี[nb 29]
 อิตาลี[nb 30]  อิตาลี[nb 31]  อิตาลี[nb 32]  อิตาลี[nb 33]  อิตาลี[nb 34]  อิตาลี[nb 35]
 ญี่ปุ่น[nb 36]  ญี่ปุ่น[nb 38]  ญี่ปุ่น[nb 39]  ญี่ปุ่น[nb 40]  ญี่ปุ่น[nb 41]
 รัสเซีย[nb 42]  รัสเซีย[nb 43]  รัสเซีย[nb 44]  สหภาพโซเวียต[nb 45]  สหภาพโซเวียต[nb 46]  รัสเซีย[nb 47]  รัสเซีย[nb 48]
 สหรัฐ[nb 49]  สหรัฐ[nb 50]  สหรัฐ[nb 51]  สหรัฐ[nb 52]  สหรัฐ[nb 53]  สหรัฐ[nb 54]

ดูเพิ่ม

ข้อมูล

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง