นางงามจักรวาล

งานประกวดนางงามระดับนานาชาติประจำปี

การประกวดนางงามจักรวาล หรือ มิสยูนิเวิร์ส (อังกฤษ: Miss Universe) เป็นการประกวดความงามประจำปี เริ่มจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยแปซิฟิกมิลส์ (Pacific Mills) บริษัทเสื้อผ้าจากรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ และหลังจากนั้นได้บริหารงานโดยเคย์เซอร์-รอธ (Kayser-Roth) และตามด้วยกัล์ฟแอนด์เวสเทิร์นอินดัสทรีซ์ (Gulf and Western Industries) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ดอนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ซื้อกิจการและบริหารงานโดยองค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้ขายกิจการองค์การนางงามจักรวาลให้เอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ผ่านไอเอ็มจี จนกระทั่งในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ได้เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาลผ่านเจเคเอ็น เมตาเวิร์ส ไอเอ็นซี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่จัดตั้งตามกฎหมายของสหรัฐ [1] วันที่ 23 มกราคม 2567 เจเคเอ็นได้ขายหุ้น 50% ขององค์กรนางงามจักรวาลให้กับ ราอูล โรชา นักธุรกิจและเศรษฐีชาวเม็กซิโก ทำให้เป็นผู้ร่วมจัดการประกวดนางงามจักรวาลในปัจจุบัน

นางงามจักรวาล
คําขวัญBeautifully Confident
ก่อตั้ง28 มิถุนายน 1952; 71 ปีก่อน (1952-06-28)
ประเภทการประกวดความงาม
สํานักงานใหญ่
ภาษาทางการ
อังกฤษ
เจ้าของ
จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์
ราอูล โรชา คานตู
องค์กรปกครอง
เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป
เลกาซี โฮลดิง กรุ๊ป
สังกัดเจเคเอ็น เลกาซี
งบประมาณ
US$100 ล้าน (รายปี)
เว็บไซต์MissUniverse.com

รูปแบบการแข่งขัน

ในยุคที่ไอเอ็มจีถือลิขสิทธิ์ การแข่งขันจะคัดเลือกสาวงามจากประเทศที่ส่งเข้าประกวด โดยผ่านรอบ Prelimnary ซึ่งคะแนนจากส่วนนี้จะส่งผลต่อการเข้ารอบในวันประกวดจริง โดยจะแยกเป็นคะแนนที่มาจาก การเดินชุดว่ายน้ำ (Swimming Suit Competition), การเดินชุดราตรี (Evening Gown Competition) และการสัมภาษณ์ต่อหน้าคณะกรรมการ (Interview) โดยเมื่อจบจากรอบนี้ ในวันประกวดจริง จะมีการประกาศผู้ที่ได้คะแนนสะสมจากรอบ Prelimnary ที่สูงสุด 20 อันดับเพื่อเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย (Semifinalist) จากนั้นผู้เข้าประกวดทั้ง 20 คนจะต้องสปีช 15 วินาที เพื่อคัดเข้ารอบ 10 คนต่อไป โดยรอบ 10 คนสุดท้าย จะใช้การเดินชุดว่ายน้ำและชุดราตรีตัดสินผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย และผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ เรียงตามลำดับการประกาศชื่อในรอบก่อนหน้า โดยคำถามที่แตกต่างกัน เพื่อคัดเข้ารอบ 3 คนสุดท้าย และทั้งสามคนจะต้องตอบคำถามเดียวกัน โดยผู้ที่รอตอบคำถาม จะต้องสวมหูฟังเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงผู้เข้าประกวดคนอื่น โดยคะแนนในรอบต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นคะแนนตัดสิน ก่อนที่กรรมการแต่ละคนจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในตำแหน่งต่าง ๆ อีกครั้งจากไฟนอลลุค ในช่วงสุดท้ายนางงามผู้ครองมงกุฎจากปีก่อนหน้าจะเดินอำลาตำแหน่ง ตามด้วยการประกาศรองอันดับสอง และผู้ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล ตามลำดับ (ก่อนปี 2011 พิธีกรจะประกาศชื่อรองอันดับหนึ่ง ตามด้วยผู้ครองมงกุฎนางงามจักรวาล)

หลังจากเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เข้าซื้อกิจการองค์การนางงามจักรวาล จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจเคเอ็นได้ประกาศว่านับตั้งแต่การประกวดนางงามจักรวาล 2023 เป็นต้นไป สตรีที่ผ่านการสมรสและสตรีข้ามเพศจะสามารถเข้าร่วมการประกวดได้ โดยจักรพงษ์ในฐานะเจ้าของกิจการองค์การนางงามจักรวาล จะไม่มีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในการประกวดดังกล่าว[2] นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวธุรกิจเสริม ได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ[3], ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย[4] และกิจการนำเที่ยว[5]

ช่องโทรทัศน์

สหรัฐ

  • CBS (1955 - 2002)
  • NBC (2003 - 2014)
  • FOX (2015 - 2016 , 2021)
  • FYI (2020)
  • The Roku Channel (2022 – ปัจจุบัน)

ประเทศไทย

ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี

ปีประเทศผู้ดำรงตำแหน่งเวทีประกวดระดับชาติสถานที่เข้าร่วม
2023  นิการากัวเชย์นิส ปาลาซิโอส (Sheynnis Palacios)มิสนิการากัว ซันซัลวาดอร์,เอลซัลวาดอร์84
2022  สหรัฐอาร์บอนนีย์ เกเบรียล (R'Bonney Gabriel)มิสยูเอสเอ นิวออร์ลีนส์, รัฐลุยเซียนา, สหรัฐ83
2021  อินเดียหรนาซ สันธู (Harnaaz Sandhu)มิสดีวา ไอลัต, อิสราเอล80
2020  เม็กซิโกอันเดรอา เมซา (Andrea Meza)เมฆิกานา อูนิเบร์ซัล ฮอลลีวูด, รัฐฟลอริดา, สหรัฐ74
2019  แอฟริกาใต้โซซีบีนี ทุนซี (Zozibini Tunzi)มิสเซาท์แอฟริกา แอตแลนตา, รัฐจอร์เจีย, สหรัฐ90

ทำเนียบนางงามจักรวาล

องค์กรนางงามจักรวาล

องค์การนางงามจักรวาล เป็นองค์การในปัจจุบันที่เป็นเจ้าของและดำเนินการประกวดนางงามจักรวาล จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2020 องค์การนางงามจักรวาลได้ประกาศให้สิทธิ์การดำเนินการจัดประกวดมิสยูเอสเอและมิสทีนยูเอสเอ ให้กับคริสตัล สจวร์ต ซึ่งเป็นมิสยูเอสเอ 2008 แต่อีกสองปีต่อมาเธอถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิ์ดังกล่าวจึงกลับมาอยู่กับองค์กรนางงามจักรวาล[6][7]

องค์การนางงามจักรวาล มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก, เม็กซิโกซิตี และจังหวัดสมุทรปราการ องค์การขายสิทธิทางโทรทัศน์ให้กับการประกวดนางงามจักรวาลในประเทศอื่น ๆ

ผู้ครองตำแหน่งองค์การนางงามจักรวาล

ด้านล่างนี้เป็นรายนามผู้ครองตำแหน่งทั้งหมดขององค์การนางงามจักรวาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ปีนางงามจักรวาลประเทศมิสยูเอสเอรัฐมิสทีนยูเอสเอรัฐ
2023เชย์นิส ปาลาซิโอส  นิการากัวโนเอเลีย วอยต์  รัฐยูทาห์อุมาโซเฟีย ศรีวาสตาวา  รัฐนิวเจอร์ซีย์
2022อาร์บอนนีย์ เกเบรียล  สหรัฐมอร์แกน โรมาโน[a]  รัฐนอร์ทแคโรไลนาฟอลลอน เมดิ  รัฐเนแบรสกา
2021หรนาซ สันธู  อินเดียแอล สมิธ[b]  รัฐเคนทักกีบรีอันนา ไมลส์[b]  รัฐฟลอริดา
2020อันเดรอา เมซา  เม็กซิโกอาชยา แบรนช์  รัฐมิสซิสซิปปีคิอิลานี อารูดา  รัฐฮาวาย
2019โซซีบีนี ทุนซี  แอฟริกาใต้เชสลี คริสต์  รัฐนอร์ทแคโรไลนาเคลีห์ แกร์ริส  รัฐคอนเนทิคัต
2018แคทรีโอนา เกรย์  ฟิลิปปินส์แซราห์ โรส ซัมเมอส์  รัฐเนแบรสกาเฮลีย์ คอลบอร์น  รัฐแคนซัส
2017เดมี-ลีห์ เนล-ปีเตอร์  แอฟริกาใต้แครา แมกคัลล็อก  วอชิงตัน ดี.ซี.โซเฟีย โดมิงเกซ-ไฮธ์อฟฟ์  รัฐมิสซูรี
2016อีริส มีเตอนาร์  ฝรั่งเศสเดเชานา บาร์เบอร์คาร์ลี เฮย์  รัฐเท็กซัส
2015เพีย วูร์ทซบาค  ฟิลิปปินส์โอลิเวีย จอร์แดน  รัฐโอคลาโฮมาแคทเธอรีน ฮาอิค  รัฐลุยเซียนา
2014เปาลินา เบกา  โคลอมเบียเนีย ซานเชซ  รัฐเนวาดาแคเธอรีน ลี เกรแฮม  รัฐเซาท์แคโรไลนา
2013กาบริเอลา อิสเลร์  เวเนซุเอลาแอริน เบรดี  รัฐคอนเนทิคัตแคสซิดี้ วูล์ฟ  รัฐแคลิฟอร์เนีย
2012โอลิเวีย คัลโป  สหรัฐนานา แมรีเวเตอร์[a]  รัฐแมริแลนด์โลแกน เวสต์  รัฐคอนเนทิคัต
2011ไลลา ลอปึช  แองโกลาอลิสซา แคมพาเนลลา  รัฐแคลิฟอร์เนียแดเนียล โดตี้  รัฐเท็กซัส
2010ฆิเมนา นาบาร์เรเต  เม็กซิโกริมา ฟากิห์  รัฐมิชิแกนคามี ครอว์ฟอร์ด  รัฐแมริแลนด์
2009เอสเตฟานิอา เฟร์นันเดซ  เวเนซุเอลาคริสเตน ดัลตัน  รัฐนอร์ทแคโรไลนาสตอร์มี เฮนลีย์  รัฐเทนเนสซี
2008ดายานา เมนโดซาคริสตัล สจวร์ต  รัฐเท็กซัสสเตวี เพร์รี  รัฐอาร์คันซอ
2007ริโยะ โมริ  ญี่ปุ่นเรเชล สมิท  รัฐเทนเนสซีฮิลารี ครูซ  รัฐโคโลราโด
2006ซูเลย์กา ริเบรา เมนโดซา  ปวยร์โตรีโกเทรา คอนเนอร์  รัฐเคนทักกีเคธี่ แบลร์  รัฐมอนแทนา
2005นาตาลี เกลโบวา  แคนาดาเชลซี คูลีย์  รัฐนอร์ทแคโรไลนาอัลลี ลาฟอร์ซ  รัฐโอไฮโอ
2004เจนนิเฟอร์ ฮอว์กินส์  ออสเตรเลียเชนดี ฟินเนสซีย์  รัฐมิสซูรีเชลลีย์ แฮนนิก  รัฐลุยเซียนา
2003อาเมเลีย เบกา  สาธารณรัฐโดมินิกันซูซี กัสติโย  รัฐแมสซาชูเซตส์ทามี่ ฟาร์เรล  รัฐออริกอน
2002ออกซานา โฟยโดโรวา[c]  รัสเซียชานเทย์ ฮินตัน  วอชิงตัน ดี.ซี.วาเนสซา เซมโรว์  รัฐวิสคอนซิน
จัสติน ปาเสก[d]  ปานามา
2001เดนิส กีโญเนส  ปวยร์โตรีโกแคนเดซ ครูเกอร์  รัฐเท็กซัสมาริสซา วิทลีย์  รัฐมิสซูรี
2000ลาร่า ดัตตา  อินเดียลินเนตต์ โคล  รัฐเทนเนสซีจิลเลียน แพร์รี่  รัฐเพนซิลเวเนีย
1999เอ็มพูเล่ คเว-ลาโกเบ้  บอตสวานาคิมเบอร์ลี เพรสเลอร์  รัฐนิวยอร์กแอชลีย์ โคลแมน  รัฐเดลาแวร์
1998เวนดี ฟิตซ์วิลเลียม  ตรินิแดดและโตเบโกชอว์เน เจบเบีย  รัฐแมสซาชูเซตส์วาเนสซา มินนิลโล  รัฐเซาท์แคโรไลนา
1997บรุก ลี  สหรัฐแบรนดี เชอร์วูด[a]  รัฐไอดาโฮเชลลี มัวร์  รัฐเทนเนสซี
1996อาลิเซีย มาชาโด  เวเนซุเอลาอาลี แลนดรี  รัฐลุยเซียนาคริสตี้ ลี วู้ดส์  รัฐเท็กซัส
1995เชลซี่ สมิธ  สหรัฐชานนา โมเกลอ[a]  รัฐนิวยอร์กคีย์ลี ซู แซนเดอร์ส  รัฐแคนซัส
1994ชุชมิตา เซน  อินเดียลู พาร์กเกอร์  รัฐเซาท์แคโรไลนาชอนน่า แกมบิล  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1993ดายานารา ตอร์เรส  ปวยร์โตรีโกเคนยา มัวร์  รัฐมิชิแกนชาร์ลอตต์ โลเปซ  รัฐเวอร์มอนต์
1992มิเชล แมคลีน  นามิเบียแชนนอน มาร์เกทิก  รัฐแคลิฟอร์เนียเจมี โซลิงเจอร์  รัฐไอโอวา
1991ลูปีตา ยอนส์  เม็กซิโกเคลลี แมกคาร์ตี  รัฐแคนซัสจาแนลล์ บิชอป  รัฐนิวแฮมป์เชอร์
1990มูนา กรุดท์  นอร์เวย์แคโรล จิสต์  รัฐมิชิแกนบริดเจตต์ วิลสัน  รัฐออริกอน
1989อังเคลา ฟิสเซอร์  เนเธอร์แลนด์เกร็ตเชน โพเฮมัส  รัฐเท็กซัสแบรนดี เชอร์วูด  รัฐไอดาโฮ
1988ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก  ไทยคอร์ตนีย์ กิบส์มินดี้ ดันแคน  รัฐออริกอน
1987เซซิเลีย โบโลโก  ชิลีมิเชลล์ โรเยอร์คริสตี แอดดิส  รัฐมิสซิสซิปปี
1986บาร์บารา ปาลาซิโอส เตย์เด  เวเนซุเอลาคริสตี ฟิชเนอร์อัลลิสัน บราวน์  รัฐโอคลาโฮมา
1985เดโบรา การ์ติ-เดว  ปวยร์โตรีโกลอรา มาร์ตีเนซ-ฮาร์ริงเคลลี่ หู  รัฐฮาวาย
1984อีวอนน์ ไรดิง  สวีเดนไม แชนลีย์  รัฐนิวเม็กซิโกเชอรีส ฮาวเก้น  รัฐอิลลินอย
1983ลอร์เรน ดาวเนส  นิวซีแลนด์จูลี ฮาเยก  รัฐแคลิฟอร์เนียรูธ ซาคาเรียน  รัฐนิวยอร์ก
1982คาเรน ไดแอน บอลด์วิน  แคนาดาเทร์รี อัตลีย์  รัฐอาร์คันซอ↑ ไม่มีการจัดการประกวดขึ้น
(ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1983)
1981อิเรเน ซาเอซ  เวเนซุเอลาคิม ซีลบรีด  รัฐโอไฮโอ
1980ชอว์น เวเทอร์ลี  สหรัฐจีนิน ฟอร์ด[a]  รัฐแอริโซนา
1979มาริตซา ซายาเลโร  เวเนซุเอลาแมรี เทริส ฟรีเอล  รัฐนิวยอร์ก
1978มาร์กาเรต การ์ดิเนอร์  แอฟริกาใต้จูดี แอนเดอร์สัน  รัฐฮาวาย
1977จาเนียล คอมมิสซิออง  ตรินิแดดและโตเบโกคิมเบอร์ลี ทอมส์  รัฐเท็กซัส
1976รีน่า เมซซิงเกอร์  อิสราเอลบาร์บารา ปีเตอร์สัน  รัฐมินนิโซตา
1975แอนน์ มาเรีย โพห์ทาโม  ฟินแลนด์ซัมเมอร์ บาร์โทโลมิว  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1974อัมปาโร มูโยซ  สเปนแคเรน มอร์ริสัน  รัฐอิลลินอย
1973มาการีตา โมแรน  ฟิลิปปินส์อะแมนดา โจนส์
1972เคอร์รี่ แอนน์ เวลส์  ออสเตรเลียทันยา วิลสัน  รัฐฮาวาย
1971จอร์เจียน่า ริสก์  เลบานอนมิเชล แมกโดนัลด์  รัฐเพนซิลเวเนีย
1970มาริโซล มาลาเรต  ปวยร์โตรีโกเดโบราห์ เชลตัน  รัฐเวอร์จิเนีย
1969กลอเรีย เดียซ  ฟิลิปปินส์เวนดี ดัสคอมบ์
1968มาร์ธา แวสคอนเซลลอส  บราซิลโดโรที อันส์เทตต์  รัฐวอชิงตัน
1967ซิลเวีย ฮิตช์ค็อก  สหรัฐเชอรีล แพตตัน[a]  รัฐฟลอริดา
1966มากาเรต้า อาวิดสัน  สวีเดนมาเรีย เรแมนยี  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1965อาภัสรา หงสกุล  ไทยซู แอน ดาวนีย์  รัฐโอไฮโอ
1964คอรินนา โซเพอิ  กรีซบอบบี จอห์นสัน  วอชิงตัน ดี.ซี.
1963เอด้า มาเรีย วากัส  บราซิลมาริต โอเซอร์ส  รัฐอิลลินอย
1962นอร์มา โนลัน  อาร์เจนตินาแมเชล วิลสัน  รัฐฮาวาย
1961มาร์ลีน ชมิท  เยอรมนีชารอน บราวน์  รัฐลุยเซียนา
1960ลินดา เบเมนต์  สหรัฐลินดา เบเมนต์  รัฐยูทาห์
1959อากิโกะ โคจิมะ  ญี่ปุ่นเทร์ ลินน์ ฮันติงดอน  รัฐแคลิฟอร์เนีย
1958ลุซ มารินา ซูลัวกา  โคลอมเบียยูร์ไลน์ โฮเวล  รัฐลุยเซียนา
1957กลาดิส เซนเดร์  เปรูแมรี ลีโอนา เกจ[e]  รัฐแมริแลนด์
ชาร์ลอตต์ เชฟฟีลด์[a]  รัฐยูทาห์
1956แครอล มอร์ริส  สหรัฐแครอล มอร์ริส  รัฐไอโอวา
1955ฮิลเลวี รอมบิน  สวีเดนคาร์ลีน คิง จอห์นสัน  รัฐเวอร์มอนต์
1954มิเรียม สตีเวนสัน  สหรัฐมิเรียม สตีเวนสัน  รัฐเซาท์แคโรไลนา
1953คริสตียาน มาร์แตล  ฝรั่งเศสเมอร์นา แฮนเซน  รัฐอิลลินอย
1952อาร์มี คูเซลา  ฟินแลนด์แจ็กกี เลาก์รี  รัฐนิวยอร์ก
หมายเหตุ

รางวัลพิเศษ

ตัวแทนประเทศไทย

ปัจจุบันตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามจักรวาลสามารถเข้ารอบได้เป็นจำนวนทั้งหมด 14 ครั้ง โดยตำแหน่งที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้คือ นางงามจักรวาล ในปี 1965 และ 1988 สำหรับตำแหน่งล่าสุดของประเทศไทยคือ รองชนะเลิศอันดับ 1 ในปี 2023

ผลงานตัวแทนประเทศไทยในนางงามจักรวาล
ตำแหน่งในการประกวดตัวแทนประเทศไทย
นางงามจักรวาล
รองชนะเลิศอันดับ 1
รองชนะเลิศอันดับ 2
เข้ารอบ 5/6 คนสุดท้าย
เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
เข้ารอบ 15/20 คนสุดท้าย
รางวัลพิเศษตัวแทนประเทศไทย
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
ขวัญใจช่างภาพ
มิสปอปปูล่าโหวต
นางงามยิ้มสวย
นางงามมิตรภาพ
ผู้สร้างอิมแพคให้กับสังคม (Leadership Awards ImpacWayv)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง