ตระกูลภาษาอัลไต

ตระกูลภาษาอัลไต (อังกฤษ: Altaic languages; บางครั้งเรียกว่า ทรานส์ยูเรเชีย (Transeurasian)) เป็นตระกูลภาษาในสมมติฐานที่มีข้อโต้แย้ง[1] ซึ่งเสนอว่า กลุ่มภาษาเตอร์กิก กลุ่มภาษามองโกล และกลุ่มภาษาตุงกูซิกมีภาษาบรรพบุรุษร่วมกัน บางครั้งสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตยังรวมกลุ่มภาษาญี่ปุ่นและกลุ่มภาษาเกาหลีไว้ด้วย[2]: 73  ผู้พูดภาษาเหล่านี้ในปัจจุบันกระจายทั่วเอเชียบริเวณเหนือเส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ และในยุโรปตะวันออกบางส่วน ในขอบเขตลองจิจูดจากตุรกีถึงญี่ปุ่น[3] ภาษาตระกูลนี้ได้รับชื่อจากเทือกเขาอัลไตในเอเชียกลางตระกูลภาษาอัลไตเป็นข้อเสนอที่ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปในสาขาภาษาศาสตร์เชิงประวัติ แม้ว่าจะมีส่วนน้อยยอมรับก็ตาม[2][4][5] การวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดภาษาศาสตร์ทั่วไปโดยประมาณ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการศึกษาเปรียบเทียบคติชาวบ้านและเทพปกรณัมต่าง ๆ ในกลุ่มชนเตอร์กิก, ชาวมองโกลดั้งเดิม และชาวตุงกุส[6]

ตระกูลภาษาอัลไต
(โต้แย้ง)
ภูมิภาค:เอเชียเหนือและกลาง
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ข้อเสนอตระกูลภาษาหลักของนักภาษาศาสตร์บางกลุ่ม
ภาษาดั้งเดิม:ภาษาอัลไตดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:tut
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
(บางครั้ง) (บางครั้ง) (แทบไม่รวม)

มีการเสนอตระกูลภาษาอัลไตครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเคยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และยังคงพบในสารานุกรมและหนังสือคู่มือหลายเล่ม[2]

ลักษณะของภาษาในตระกูล

ภาษาต่าง ๆ ในตระกูลภาษานี้มีลักษณะที่ร่วมกันอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้

  • การเรียงลำดับคำแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
  • ไม่ระบุเพศ พจน์ของคำ
  • มีการใช้คำปรบท (Postposition) ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกันกับคำบุพบท เพียงแต่ว่าจะปรากฏอยู่ด้านหลังของคำที่จะกล่าวถึง
  • ไม่มีคำประพันธสรรพนาม (relative pronouns)
  • ไม่ปรากฏคำกิริยา “มี” แต่ใช้การเติมปัจจัย (Suffix) หรือสัมพันธการก (Genitive case) ท้ายคำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทน
  • เป็นภาษารูปคำติดต่อ (Agglutinative language) กล่าวคือ มีการเติมหน่วยคำอิสระหรืออนุภาค (Particle) ท้ายคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำในระบบวากยสัมพันธ์
  • มีความสอดคล้องกลมกลืนของสระ (Vowel harmony) กล่าวคือ ระบบสระในคำหนึ่งคำจะต้องเป็นสระประเภทเดียวกัน
  • ไม่มีการเติมอุปสรรคแต่ใช้ปัจจัยท้ายคำเพื่อบอกหน้าที่คำในประโยค
  • ระบบเสียงพยัญชนะไม่สลับซับซ้อนรวมทั้งเป็นคำแบบพยางค์ปิดเป็นส่วนใหญ่

สาขาย่อย

ตระกูลภาษาอัลตาอิกนี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิก (Turkic subfamily)

มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน รวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองราว 200 ล้านคน ใช้พูดในประเทศตุรกี เอเชียกลาง สาธารณรัฐยาคุต สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน สาธารณรัฐตาตาร์สถาน ในประเทศรัสเซีย และ มณฑลซินเจียงอุยกูร์ในประเทศจีน กลุ่มภาษาเตอร์กิกส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40% ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด สาขากลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งออกได้เป็น

สาขากลุ่มภาษามองโกล (Mongolic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 10 ล้านคน ใช้มากในประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ดินแดนจุงกาเรียในประเทศจีน สาธารณรัฐคัลมืยคียาและสาธารณรัฐบูรยาเทียในประเทศรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

  • กลุ่มภาษามองโกลตะวันตกหรือออยรัท (Western Mongol or Oirat) ได้แก่ ภาษาออยรัท ภาษาคาลมิก ภาษาตอร์กุต
  • กลุ่มภาษามองโกลตะวันออกหรือคาลฆา (Eastern Mongol or Khalkha) ได้แก่ ภาษาคาลฆา ภาษาเบอร์ยัท ภาษาคอร์ชิน ภาษาออร์ดอส ภาษาทูเมต ภาษาฌาฮาร์
  • กลุ่มภาษาต้าเอ้อร์ (Daur) ได้แก่ ภาษาต้าเอ้อร์

สาขากลุ่มภาษาตุงกูซิก (Tungusic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 80,000 คน ใช้มากในไซบีเรียตะวันออก และแถบแมนจูเรียในประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • กลุ่มภาษาตุงกุสเหนือ (Northern Tungus) ได้แก่ ภาษาอีเวนกิ ภาษาอีเวน ภาษาเนกิดัล
  • กลุ่มภาษาตุงกุสใต้ (Southern Tungus) ได้แก่ ภาษาแมนจู ภาษาพูยอ ภาษาซีเปอ ภาษานานาจ ภาษาโอโรเชิน ภาษาอูดิเฮ

สาขาภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่น (Korean-Japonic subfamily)

มีผู้พูดประมาณ 180 ล้านคนในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอกินาวา แบ่งออกได้ดังนี้

อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านอาจจัดกลุ่มภาษาเกาหลี-ญี่ปุ่นเป็นภาษาเอกเทศ (isolated language) เนื่องจากลักษณะบางอย่างในภาษาไม่สอดคล้องกับตระกูลภาษาอัลตาอิก เช่น ภาษาเกาหลีในปัจจุบันไม่เคร่งครัดกฎความสอดคล้องกลมกลืนของสระ ภาษาญี่ปุ่นเป็นคำพยางค์คู่และพยางค์เปิด ไม่ปรากฏลักษณะของความสอดคล้องกลมกลืนของสระซึ่งเป็นลักษณะของตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย

ดังนั้นนักวิชาการบางคนจึงกล่าวว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจมีตระกูลภาษาออสโตรนีเซียเป็นภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาอัลตาอิก สาขาตุงกุส (superstratum) นอกจากนี้ภาษาทั้งสองยังได้รับอิทธิพลคำศัพท์มาจากภาษาจีนอย่างมากมาย รวมทั้งมีระดับภาษาที่ต่างกันเพื่อแสดงความสุภาพและสถานะของบุคคลซึ่งไม่ใช่ลักษณะของภาษาตระกูลนี้ แม้ว่าลักษณะของวากยสัมพันธ์จะเป็นแบบตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสาขาภาษาตุงกุสมาก่อน

นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย (Genetic relation) ของตระกูลภาษานี้ยังไม่อาจได้รับการยืนยันเนื่องจากการขาดความคล้ายคลึงทางคำศัพท์และหน่วยเสียงระหว่างกลุ่มภาษาที่ไกลกัน จึงไม่แน่ชัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอัลตาอิกดั้งเดิม (Proto-Altaic) เดียวกัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง