ภาษาคีร์กีซ

ภาษาคีร์กีซ (คีร์กีซ: Кыргыз тили, อักษรโรมัน: Kyrgyz tili, แม่แบบ:IPA-ky) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกในสาขาเคียปชักที่มีผู้พูดในเอเชียกลาง ภาษานี้เป็นภาษาทางการของประเทศคีร์กีซสถานและเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในKizilsu Kyrgyz Autonomous Prefecture ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน และGorno-Badakhshan Autonomous Province ในประเทศทาจิกิสถาน โดยมีระดับความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาษาคีร์กีซ คาซัค และอัลไตสูงมาก นอกจากนี้ ภาษาคีร์กีซยังมีผู้พูดโดยผู้มีเชื้อชาติคีร์กีซหลายที่ทั่วอดีตสหภาพโซเวียต, อัฟกานิสถาน, ตุรกี, ปากีสถานตอนเหนือ และรัสเซีย

ภาษาคีร์กีซ
Кыргыз тили, قیرغیزچا
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-ky
ประเทศที่มีการพูดคีร์กีซสถาน, อัฟกานิสถาน, ทาจิกิสถาน, ปากีสถาน, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (จีน)
ชาติพันธุ์ชาวคีร์กีซ
จำนวนผู้พูด4.5 ล้านคน  (2009 census)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนอักษรคีร์กีซ (อักษรซีริลลิก, อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ, อักษรเบรลล์คีร์กีซ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการคีร์กีซสถาน
Kizilsu Kyrgyz Autonomous Prefecture (จีน)
รหัสภาษา
ISO 639-1ky
ISO 639-2kir
ISO 639-3kir
Linguasphere44-AAB-cd
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาคีร์กีซในชุดพื้นเมือง บันทึกที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ Chunkurchak แถวชานเมืองบิชเคก
อาซิม ผู้พูดภาษาคีร์กีซ บันทึกที่ประเทศไต้หวัน

เดิมทีภาษาคีร์กีซเคยเขียนด้วยอักษรรูนเตอร์กิก[2] แล้วเปลี่ยนไปเป็นอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (จนถึง ค.ศ. 1928 ในสหภาพโซเวียต ยังคงใช้งานในประเทศจีน) ในช่วง ค.ศ. 1928 ถึง 1940 จึงเริ่มมีการใช้อักษรละติน จากนั้น เจ้าหน้าที่โซเวียตได้เปลี่ยนอักษรละตินไปเป็นอักษรซีริลลิกใน ค.ศ. 1940 หลังจากคีร์กีซสถานได้รับเอกราชหลังโซเวียตล่มสลายใน ค.ศ. 1991 แผนการนำอักษรละตินมาใช้กลายเป็นที่นิยม แม้จะยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน แต่ก็ยังคงมีการอภิปรายเป็นครั้งคราว[3]

ประวัติ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กลุ่มชนกลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อชาวคีร์กิซได้มีการกล่าวถึงในยุคกลางตอนต้นของเอกสารจีนในฐานะเพื่อนบ้านทางเหนือ และบางครั้งเป็นกลุ่มจักรวรรดิเติร์กในทุ่งหญ้าสเตปที่อยู่ในมองโกเลีย ชาวคีร์กิซเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้านานาชาติในชื่อเส้นทางสายไหม ในยุคจักรวรรดิ์อุยกูร์เมื่อราว 297 ปีก่อนพุทธศักราช ชนกลุ่มนี้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่แตกต่างจากภาษาเตอร์กิกโบราณไปเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรรูนแบบเดียวกัน หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์ ชาวคีร์กีซไม่ได้ครอบครองทุ่งหญ้าสเตปในมองโกเลีย และประวัติศาสตร์ของพวกเขาในช่วงนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่เชื่อว่าพวกเขาคงอาศัยในบริเวณไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันนี้

บรรพบุรุษของชาวเติร์กทุกวันนี้ อาจจะเป็นเผ่าซาโมเยคใต้หรือเผ่าเยนิเซยันที่เข้ามาติดต่อกับวัฒนธรรมเติร์ก หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์และตั้งหลักแหล่งในบริเวณออร์คอน ซึ่งเป็นบริเวณที่พบหลักฐานภาษาเตอร์กิกที่เก่าที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 14 เอกสารของชาวจีนและมุสลิมในพุทธศตวรรษที่ 12 - 17 อธิบายว่าชาวคีร์กิซว่าเป็นพวกผมแดง ตาสีเขียว

ลูกหลานของชาวคีร์กิซที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไซบีเรียได้รับการยืนยันจากข้อมูลทางพันธุกรรม[4] 63% ของชายชาวคีร์กิซในปัจจุบันมี DNA บนโครโมโซม Y Ria1 ซึ่งพบในชาวทาจิก 64% ชาวยูเครน 54% ชาวโปแลนด์ 56% และชาวไอซ์แลนด์ 29%

ถ้าชาวคีร์กิซสืบเชื้อสายมาจากเผ่าซาโมเยคในไซบีเรีย ชาวคีร์กิซจะต้องเคยพูดภาษาในตระกูลภาษายูราลิกมาก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณออร์คอน ถ้าเป็นลูกหลานของเผ่าเยนิเซยัน พวกเขาจะเป็นลูกหลานของกลุ่มชนชื่อเดียวกันที่เริ่มเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบันจากบริเวณแม่น้ำเยนิเซยในไซบีเรียตอนกลางเมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีที่มาจากเผ่าเยนิเซยันมีข้อโต้แย้งมาก เพราะความใกล้เคียงทางวัฒนธรรมและภาษาของชาวคีร์กิซและชาวคาซัค คำอธิบายในยุคแรกๆ เกี่ยวกับชาวคีร์กิซในเอกสารจีน กล่าวว่าพวกเขามีผมสีแดงและตาสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มชาวคอเคซอยด์ ที่พูดภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันยังพบอยู่ในยูเรเชียตอนกลาง ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อมต่อภาษาคีร์กิซเข้ากับตระกูลภาษายูราลิกหรือเยนิเซยัน จึงไม่แน่นอนว่าชาวคีร์กิซในปัจจุบันเป็นลูกหลานของชาวคีร์กิซในยุคกลางหรือไม่

ยุคอาณานิคม

ในยุคที่ถูกปกครองโดยตุรกี (พ.ศ. 2419 - 2460) คาซัคและคีร์กิซถูกเรียกรวมกันว่าคีร์กิซ และส่วนที่เป็นคีร์กิซสถานในปัจจุบันเรียกว่าคีร์กิซดำ แม้ว่าภาษาคีร์กิซจะมีที่มาจากสาขาเดียวกับภาษาอัลไตและภาษาอื่นๆที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงเหนือของคีร์กิซสถาน แต่ภาษาคีร์กิซในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาคาซัคและบางครั้งจัดอยู่ในภาษากลุ่มโนกายของภาษากลุ่มเคียปชักซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ถ้าตัดอิทธิพลจากภาษาคาซัคออกไปแล้ว ภาษาคีร์กิซยังคงมีความคล้ายคลึงกับภาษาอัลไตอยู่ ภาษาคีร์กิซสมัยใหม่ไม่มีระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานจนกระทั่ง พ.ศ. 2466 จึงมีการเขียนที่ปรับปรุงมาจากอักษรอาหรับ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอักษรละตินที่พัฒนาโดยคาซืม ตืย์นืย์สตานอฟ และเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับใน พ.ศ. 2483 ในทันทีที่ได้รับเอกราช มีการอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวอักษรแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ความเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโซเวียต

ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างคีร์กิซสถานกับคาซัคสถาน คือชาวคีร์กิซนิยมใช้ภาษาของตนมากกว่า และอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนชัดเจนกว่า หลังได้รับเอกราชจากโซเวียต รัฐลาลของอะกาเยฟเสนอให้ใช้ภาษาคีร์กิซเป็นภาษาราชการและบังคับให้ชาวยุโรปหันมาใช้ภาษาคีร์กิซ ซึ่งชาวยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซียต่อต้านนโยบายนี้มาก ใน พ.ศ. 2535 มีการออกกฎหมายบังคับให้ธุรกิจทุกอย่างต้องใช้ภาษาคีร์กิซเท่านั้นภายใน พ.ศ. 2540 แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภาของคีร์กิซสถานยอมให้ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาคีร์กิซอีกภาษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับแรงกดดันจากรัสเซียด้วย

สัทวิทยา

สระ

เสียงสระคีร์กีซ[5]
หน้าหลัง
ไม่ห่อห่อไม่ห่อห่อ
ปิดiyɯu
กลางeøo
เปิด(a)ɑ

/a/ ปรากฏเฉพาะคำยืมจากภาษาเปอร์เซียหรือเมื่อมีคำที่ตามหลังด้วยสระหน้า (การกลืนเสียงย้อนกลับ) เช่น /ajdøʃ/ 'ลาดเอียง' แทน */ɑjdøʃ/[6] หมายเหตุ: ในสำเนียงส่วนใหญ่ สถานะสระจาก /ɑ/ ยังคงเป็นที่สงสัย[7]

พยัญชนะ

เสียงพยัญชนะคีร์กีซ[8]
ริมฝีปากฟัน/
ปุ่มเหงือก
หลัง-
ปุ่มเหงือก
หลังลิ้น
นาสิกmnŋ
ระเบิดไร้เสียงptk q
ออกเสียงbdɡ
กักเสียดแทรกไรเสียงt͡s[a]t͡ʃ
ออกเสียงd͡ʒ
เสียดแทรกไรเสียงf[a]sʃx[a]
ออกเสียงv[a]z
เปิดlj
รัวr

ระบบการเขียน

ภาษาคีร์กีซในประเทศคีร์กีซสถานใช้อักษรซีริลลิก ซึ่งใช้อักษรรัสเซียแล้วเพิ่มอักษร ң, ө และ ү ในขณะที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของประเทศจีน ยังคงใช้อักษรอาหรับ

ซีริลลิกเปอร์เซีย-อาหรับละตินสัทอักษรสากลไทย
Бардык адамдар өз беделинде жана укуктарында эркин жана тең укуктуу болуп жаралат. Алардын аң-сезими менен абийири бар жана бири-бирине бир туугандык мамиле кылууга тийиш.باردیق ادامدار ۅز بهدهاینده جانا وُقوُقتاریندا هرکین جانا تهڭ ۇقۇقتۇۇ بولۇپ جارالات. الاردین اڭ-سهزیمی مهنهن ابئییری بار جانا بئرى-بئرینه بئر توُوُعاندیق مامئلە قیلوُوُغا تئییش.Bardıq adamdar öz bedelinde jana uquqtarında erkin jana teŋ uquqtuu bolup jaralat. Alardın aŋ-sezimi menen abiyiri bar jana biri-birine bir tuuğandıq mamile qıluuğa tiyiş.bɑrdɯq ɑdɑmdɑr øz bedelinde d͡ʒɑnɑ uquqtɑrɯndɑ erkin d͡ʒɑnɑ teŋ uquqtuː boɫup d͡ʒɑrɑɫɑt ‖ ɑɫɑrdɯn ɑɴsezimi menen ɑbijiri bɑr d͡ʒɑnɑ biribirine bir tuːʁɑndɯq mɑmile qɯɫuːʁɑ tijiʃมนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง