ประเทศอุรุกวัย

ประเทศในอเมริกาใต้

อุรุกวัย (สเปน: Uruguay, ออกเสียง: [uɾuˈɣwaj]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย[8] (República Oriental del Uruguay) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดริโอเดลาปลาตาทางทิศใต้ และจรดมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อุรุกวัยมีเนื้อที่ประมาณ 176,000 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 3.51 ล้านคน โดย 2 ล้านคนในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเขตมหานครของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คือกรุงมอนเตวิเดโอ

สาธารณรัฐโอเรียนทัลอุรุกวัย

República Oriental del Uruguay (สเปน)
คำขวัญ"ไม่เสรีภาพก็ความตาย"
(สเปน: Libertad o Muerte)
พระอาทิตย์เดือนพฤษภาคม
Sol de Mayo
ที่ตั้งของ ประเทศอุรุกวัย  (เขียวเข้ม) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศอุรุกวัย  (เขียวเข้ม)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มอนเตวิเดโอ
34°53′S 56°10′W / 34.883°S 56.167°W / -34.883; -56.167
ภาษาราชการภาษาสเปน
ภาษาระดับภูมิภาคโปรตุเกส
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011[1])
  • 87.7% ชนผิวขาว
  • 4.6% ชนผิวดำ
  • 2.4% ชนพื้นเมือง
  • 0.2% เอเชีย
  • 5.1% อื่น ๆ / ไม่ระบุ
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[2]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
• ประธานาธิบดี
ลุยส์ ลากาเย โปว์
• รองประธานาธิบดี
เบอาตริซ อาร์ฆิมอน
สภานิติบัญญัติสมัชชาใหญ่
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
• ประกาศ
25 สิงหาคม ค.ศ. 1825
• ได้รับการรับรอง
27 สิงหาคม ค.ศ. 1828
• รัฐธรรมนูญฉบับแรก
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1830
18 ธันวาคม ค.ศ. 1945
พื้นที่
• รวม
176,215 ตารางกิโลเมตร (68,037 ตารางไมล์) (อันดับที่ 89)
1.5
ประชากร
• ค.ศ. 2019 ประมาณ
3,518,552[3] (อันดับที่ 132)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
3,390,077[4]
19.8 ต่อตารางกิโลเมตร (51.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 99)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
86.562 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 92)
24,516 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 59)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
62.917 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 80)
17,819 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 49)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 39.7[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.817[7]
สูงมาก · อันดับที่ 55
สกุลเงินเปโซอุรุกวัย (UYU)
เขตเวลาUTC−3 (UYT)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+598
โดเมนบนสุด.uy

บริเวณที่เป็นประเทศอุรุกวัยมีกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์เข้ามาอาศัยอยู่เป็นครั้งแรกเมื่อ 13,000 ปีก่อน[9] ชนเผ่าที่มีอำนาจเด่นในช่วงเวลาที่ชาวยุโรปมาถึงคือชาวชาร์รูอา อุรุกวัยตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โปรตุเกสก่อตั้งกูลอเนียดูซากราเม็งตูขึ้นใน ค.ศ. 1680 สเปนก่อตั้งมอนเตวิเดโอเป็นฐานที่มั่นทางทหารในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการแข่งขันเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์เหนือภูมิภาคนี้ อุรุกวัยได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1811 และใน ค.ศ. 1828 หลังการแย่งชิงจากสี่ฝ่ายระหว่างโปรตุเกสกับสเปนและระหว่างอาร์เจนตินากับบราซิลในเวลาต่อมา และยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลและการแทรกแซงจากต่างประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยทหารเข้ามามีบทบาทซ้ำ ๆ ในการเมืองภายในประเทศ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจหลายครั้งและการต่อสู้กับกิจกรรมกองโจรฝ่ายซ้ายในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้ยุติช่วงเวลาแห่งประชาธิปไตยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[โปรดขยายความ] โดยนำไปสู่รัฐประหารใน ค.ศ. 1973 ซึ่งสถาปนาระบอบเผด็จการพลเรือน-ทหาร รัฐบาลทหารไล่ล่าฝ่ายซ้าย ฝ่ายสังคมนิยม และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ส่งผลให้มีผู้ถูกทรมานและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนกระทั่งทหารได้มอบอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนใน ค.ศ. 1985 ปัจจุบันอุรุกวัยเป็นสาธารณรัฐรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจรายได้สูงและติดอันดับหนึ่งในลาตินอเมริกาในด้านประชาธิปไตย สันติภาพ ภาพลักษณ์คอร์รัปชันต่ำ[10] และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[11][12] ประเทศนี้อยู่ในอันดับแรกในอเมริกาใต้ในด้านเสรีภาพสื่อ ขนาดชนชั้นกลาง และภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง[10] บนพื้นฐานต่อหัว อุรุกวัยส่งกำลังทหารไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมากกว่าประเทศอื่น ๆ[10] และเป็นประเทศที่มีดัชนีการก่อการร้ายทั่วโลกอยู่ในอันดับต่ำที่สุดในอเมริกาใต้ เป็นอันดับสองของทวีปในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมกันของรายได้ รายได้ต่อหัว และการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ[10] และเป็นประเทศที่ดีที่สุดอันดับสามของทวีปในด้านดัชนีการพัฒนามนุษย์ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[13] นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน[10] อุรุกวัยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมมากที่สุดในลาตินอเมริกา โดยติดอันดับสูงในการจัดอันดับด้านสิทธิส่วนบุคคล การยอมรับความต่าง และการนับรวมทุกกลุ่มคน[14] รวมถึงการยอมรับประชาคมบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[15] กัญชา การสมรสเพศเดียวกัน และการทำแท้งได้รับการรับรองให้ถูกกฎหมายในประเทศนี้ อุรุกวัยเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ องค์การนานารัฐอเมริกา และตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง

การเมืองการปกครอง

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา) ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในคราวเดียวในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และไม่อาจดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 ได้

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ระบบสองสภาประกอบด้วยวุฒิสภาจำนวน 30 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยรองประธานาธิบดีมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 1 เสียง และสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 99 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ

ระบบประมวลกฎหมายมีรากฐานมาจากประมวลกฎหมายของสเปน ผู้พิพากษาศาลฎีกาได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดี และสภานิติบัญญัติเป็นผู้เลือก วาระการดำรงตำแหน่ง 10 ปี

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Andrew, G. R. (2010). Blackness in the White Nation: A History of Afro-Uruguay, The University of North Carolina Press
  • Behnke, A. (2009). Uruguay in Pictures, Twenty First Century Books
  • Box, B. (2011). Footprint Focus: Uruguay, Footprint Travel Guides
  • Burford, T. (2010). Bradt Travel Guide: Uruguay, Bradt Travel Guides
  • Canel, E. (2010). Barrio Democracy in Latin America: Participatory Decentralization and Community Activism in Montevideo, The Pennsylvania State University Press
  • Clark, G. (2008). Custom Guide: Uruguay, Lonely Planet
  • Jawad, H. (2009). Four Weeks in Montevideo: The Story of World Cup 1930, Seventeen Media
  • Lessa, F. and Druliolle, V. (eds.) (2011). The Memory of State Terrorism in the Southern Cone: Argentina, Chile, and Uruguay, Palgrave Macmillan
  • Mool, M (2009). Budget Guide: Buenos Aires and Montevideo, Cybertours-X Verlag

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง