ฟุตบอลทีมชาติเวลส์

ฟุตบอลทีมชาติเวลส์ (เวลส์: Tîm pêl-droed cenedlaethol Cymru) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวลส์ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) และเป็นสมาชิกของยูฟ่า

เวลส์
Shirt badge/Association crest
ฉายามังกร (เวลส์: Y Dreigiau)
มังกรแดง (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนร็อบ เพจ
กัปตันแกเร็ธ เบล
ติดทีมชาติสูงสุดแกเร็ธ เบล (111)
ทำประตูสูงสุดแกเร็ธ เบล (41)
สนามเหย้าคาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม
รหัสฟีฟ่าWAL
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 29 Steady (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด8 (ตุลาคม ค.ศ. 2015)
อันดับต่ำสุด117 (สิงหาคม ค.ศ. 2011)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 4–0 เวลส์ ธงชาติเวลส์
(กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์; 25 มีนาคม ค.ศ. 1876)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเวลส์ เวลส์ 11–0 ไอร์แลนด์ ธงชาติไอร์แลนด์
(เร็กซัม ประเทศเวลส์; 3 มีนาคม ค.ศ. 1888)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 9–0 เวลส์ ธงชาติเวลส์
(กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์; 23 มีนาคม ค.ศ. 1878)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 1958)
ผลงานดีที่สุดรอบ 8 ทีมสุดท้าย (1958)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (2016)
เว็บไซต์www.faw.cymru/en/

แม้ประเทศเวลส์จะไม่ใช่ดินแดนที่เป็นรัฐเอกราช โดยมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ก็มีสมาคมฟุตบอลและทีมชาติเป็นของตนเอง โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติในรายการสำคัญๆทุกรายการของฟีฟ่าและยูฟ่า อย่างไรก็ตามสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก ประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอันประกอบไปด้วยอังกฤษ, สก็อตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือต้องรวมทีมกันลงแข่งขันภายใต้ชื่อของสหราชอาณาจักร

ทีมชาติเวลส์จัดเป็นฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ แต่เคยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายในรายการสำคัญๆ เพียงแค่ 3 ครั้งคือฟุตบอลโลกปี 1958 ที่ประเทศสวีเดน, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศส และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020​ โดยทีมชาติเวลส์มีฉายาที่ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนกีฬาในประเทศไทยว่า มังกรแดง

โดยผลงานดีที่สุดในระดับชาติที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้คือการผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1958 และผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป เวลส์ตกรอบคัดเลือกโดยมีคะแนนตามหลังทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ซึ่งอยู่อันดับ 2 เพียงแค่ 2 คะแนน อย่างไรก็ตามเวลส์สามารถผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020​ ได้สำเร็จ

การจัดอันดับโลกของฟีฟ่าที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้สูงสุดคืออันดับที่ 8 (ตุลาคม 2015) ภายใต้การคุมทีมของ คริส โคลแมน โดยในเดือนกันยายน 2015 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ เวลส์ กลายเป็นทีมชาติที่มีอันดับโลกดีที่สุดในบรรดาทีมชาติในสหราชอาณาจักร

ประวัติ

ช่วงแรก

ทีมชาติเวลส์ลงแข่งขันฟุตบอลเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1876 โดยเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรกับทีมชาติสก็อตแลนด์ ที่สนามแฮมิลตัน เครสเซนต์ ซึ่งเป็นสนามของทีมคริกเก็ตในเมืองกลาสโกว์ ทำให้เวลส์เป็นทีมฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ โดยการแข่งขันในนามทีมชาติเป็นครั้งแรกของเวลส์จบลงด้วยการแพ้สก็อตแลนด์ถึง 4–0

ปีต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1877 ทีมชาติเวลส์และทีมชาติสก็อตแลนด์ กลับมาแข่งกันอีกครั้งที่สนามเรสคอส กราวน์ เมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ โดยถือเป็นการเล่นในฐานะเจ้าบ้านเป็นครั้งแรก และสก็อตแลนด์เอาชนะไปได้อีกครั้งด้วยผล 2–0

ทีมชาติเวลส์มีโอกาสลงแข่งขันกับทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1879 ที่สนามดิ โอวัล ในกรุงลอนดอน และเป็นฝ่ายแพ้ไป 2–1

ปี ค.ศ. 1882 ทีมชาติเวลส์ได้ลงแข่งกับทีมชาติเกาะไอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ที่เมืองเร็กซ์แฮม และชนะไป 7–1 (ในสมัยนั้นเกาะไอร์แลนด์ยังไม่ได้แยกเป็นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์)

วอลเตอร์ ร็อบบินส์ ผู้ยิงประตูให้ทีมชาติเวลส์ในการแข่งขันนอกสหราชอาณาจักรได้เป็นคนแรก

สมาคมฟุตบอลเวลส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนักระหว่างฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ทำให้สมาคมฟุตบอลเวลส์ถูกถอดถอนออกจากการเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1928 ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 1930 ซึ่งเป็นการจัดฟุตบอลโลกสมัยแรก และในอีก 2 ครั้งต่อมา

โดยการเดินทางออกไปแข่งขันภายนอกสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1933 เมื่อนักฟุตบอลทีมชาติเวลส์เดินทางไปที่กรุงปารีส เพื่อลงแข่งขันกับทีมชาติฝรั่งเศส ในวันที่ 23 พฤษภาคม ซึ่งผลจบลงด้วยการเสมอกัน 1–1 และ วอลเตอร์ ร็อบบินส์ กองหน้าสังกัดสโมสรเวสต์บรอมมิช อัลเบียน ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสมาคมฟุตบอลเวลส์ว่าเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคนแรกที่ยิงประตูได้ในการแข่งขันนอกสหราชอาณาจักร

หลังจบสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1946 สมาคมฟุตบอลเวลส์ได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกของฟีฟ่าอีกครั้ง พร้อมๆกับสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอื่นๆ และลงแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1950 แต่ทีมชาติเวลส์จบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม

อย่างไรก็ตามในยุค 50 ถือเป็นยุคทองของทีมชาติเวลส์ เมื่อทีมชาติในยุคนั้นอุดมไปด้วยดารานักเตะดังๆแทบจะทั้งทีมเช่น อิวอร์ ออลเชิร์ช, คลิฟฟ์ โจนส์, เทรเวอร์ ฟอร์ด และ จอห์น ชาร์ลส์

ฟุตบอลโลก 1958

ทีมชาติเวลส์ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกและครั้งเดียวในฟุตบอลโลก 1958 ที่ประเทศสวีเดน ภายใต้การคุมทีมของ จิมมี่ เมอร์ฟี่ โดยในรอบแบ่งกลุ่มถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 3 ร่วมกับทีมชาติสวีเดน ที่เป็นเจ้าภาพ ,ทีมชาติฮังการี และทีมชาติเม็กซิโก

โดยการแข่งฟุตบอลโลกนัดแรกในประวัติศาสตร์ของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1958 ที่สนามเจิร์นวัลเล่น เมืองแซนด์ไวเค่น เป็นการแข่งขันในรอบแรกระหว่างทีมชาติฮังการี และ ทีมชาติเวลส์ ผลจบลงด้วยการเสมอกันไป 1–1 ฮังการีได้ประตูขึ้นนำก่อนจากโจเซฟ บอสซิก ส่วนเวลส์ตีเสมอได้จาก จอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าสังกัดยูเวนตุส ทำให้จอห์น ชาร์ลส์ ถูกบันทึกว่าเป็นนักเตะทีมชาติคนแรกของเวลส์ที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลก

นัดต่อมาเวลส์เสมอกับทีมชาติเม็กซิโก 1–1 โดยเวลส์ได้ประตูขึ้นนำก่อนจากลูกยิงของอิวอร์ ออลเชิร์ช ก่อนที่ไคเม่ เบลมอนเต้จะตีเสมอให้เม็กซิโก

ผลจากการที่นัดสุดท้ายในรอบแรก ทีมชาติเวลส์เสมอกับเจ้าภาพสวีเดน 0–0 ทำให้สวีเดนผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่ม ส่วนเวลส์ มี 3 คะแนนเท่ากับฮังการี ต้องตัดสินด้วยการเพลย์ออฟ เพื่อหาทีมที่จะเข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป

การแข่งขันเพลย์ออฟ ระหว่างเวลส์และฮังการี่ ทีมชาติเวลส์เสียประตูก่อนในครึ่งแรก แต่มายิงคืนได้ 2 ประตูรวดจากอิวอร์ ออลเชิร์ช ที่ยิงตีเสมอ และได้ประตูชัยจากเทอร์รี่ เมดวิน ปีกจากสโมสรท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ในช่วงท้ายเกมส์ ทำให้ผ่านเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป

ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายเวลส์ต้องพบกับทีมชาติบราซิล และจอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าตัวสำคัญของทีมก็ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในที่สุดเวลส์ก็แพ้บราซิลไป 1–0 โดยผู้ที่ยิงประตูให้ทีมชาติบราซิลได้ในแมตช์ดังกล่าวเป็นนักเตะหนุ่มที่อายุเพียง 17 ปี ของสโมสรซานโต๊ส และประตูนี้เป็นประตูแรกของเขาในนามทีมชาติบราซิล อีกทั้งยังส่งผลให้เขาเป็นเจ้าของสถิติผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลกจนถึงปัจจุบัน หลังจบทัวนาเมนต์บราซิลคว้าตำแหน่งแชมป์โลกไปครองได้สำเร็จ และนักฟุตบอลหนุ่มที่ยิงประตูได้ในแมตช์นี้กลายเป็นกองหน้าระดับตำนานของวงการฟุตบอลในเวลาต่อมา นักฟุตบอลหนุ่มคนนี้มีชื่อเล่นว่า "เปเล่"

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2022 หลังแข่งขันกับ อิหร่าน

0#0ตำแหน่งผู้เล่นวันเกิด (อายุ)ลงเล่นประตูสโมสร
11GKเวย์น เฮนเนสซีย์ (1987-01-24) 24 มกราคม ค.ศ. 1987 (37 ปี)1080 นอตทิงแฮมฟอเรสต์
121GKแดนนี วอร์ด (1993-06-22) 22 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (30 ปี)270 เลสเตอร์ซิตี
211GKแอดัม เดวิส (1992-07-17) 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี)40 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด

22DFคริส กันเทอร์ (1989-07-21) 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี)1090 วิมเบิลดัน
32DFนีโก วิลเลียมส์ (2001-04-13) 13 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี)252 นอตทิงแฮมฟอเรสต์
42DFเบน เดวิส (1993-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี)761 ทอตนัมฮอตสเปอร์
52DFคริส เม็ฟฟัม (1997-11-05) 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (26 ปี)350 บอร์นมัท
62DFโจ โรดัน (1997-10-22) 22 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี)320 สตาดแรแน
142DFคอนเนอร์ รอเบิตส์ (1995-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1995 (28 ปี)433 เบิร์นลีย์
152DFอีทัน แอมพาดู (2000-09-14) 14 กันยายน ค.ศ. 2000 (23 ปี)390 สเปเซีย
172DFทอม ล็อกเยอร์ (1994-12-03) 3 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี)140 ลูตันทาวน์
242DFเบน คาแบงโก (2000-05-30) 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี)50 สวอนซีซิตี

73MFโจ แอลเลน (1990-03-14) 14 มีนาคม ค.ศ. 1990 (34 ปี)732 สวอนซีซิตี
83MFแฮร์รี วิลสัน (1997-03-22) 22 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)415 ฟูลัม
103MFแอรอน แรมซีย์ (กัปตัน) (1990-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี)7720 นิส
163MFโจ มอร์เรลล์ (1997-01-03) 3 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)310 พอร์ตสมัท
183MFจอนนี วิลเลียมส์ (1993-10-09) 9 ตุลาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี)332 สวินดัน ทาวน์
223MFซอร์บา ทอมัส (1999-01-25) 25 มกราคม ค.ศ. 1999 (25 ปี)70 ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์
233MFดิลัน เลวิตต์ (2000-11-17) 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (23 ปี)130 ดันดี ยูไนเต็ด
253MFรูบิน คอลวิลล์ (2002-04-27) 27 เมษายน ค.ศ. 2002 (21 ปี)71 คาร์ดิฟฟ์ซิตี
263MFแมตทิว สมิท (1999-11-22) 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (24 ปี)190 มิลตันคีนส์ดอนส์

94FWเบรนนัน จอห์นสัน (2001-05-23) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (22 ปี)172 นอตทิงแฮมฟอเรสต์
114FWแกเร็ท เบล (กัปตัน) (1989-07-16) 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (34 ปี)11041 ลอสแอนเจลิส
134FWคีฟเฟอร์ มัวร์ (1992-08-08) 8 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี)309 บอร์นมัท
194FWมาร์ก แฮร์ริส (1998-12-29) 29 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี)50 คาร์ดิฟฟ์ซิตี
204FWแดเนียล เจมส์ (1997-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 (26 ปี)405 ฟูลัม

ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด

ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2022[2] (แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน):
คริส กันเทอร์ ผู้เล่นที่ลงสนามให้ทีมชาติมากที่สุดอันดับ 1
อันดับชื่อช่วงเวลาจำนวนนัดที่ลงสนามประตูสโมสร
1คริส กันเทอร์2007–ปัจจุบัน1090คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
ทอตนัม ฮอตสเปอร์
นอตติงแฮม ฟอเรสต์
เรดดิง
ชาร์ลตัน แอธเลติก
2แกเร็ท เบล2006–ปัจจุบัน10640เซาท์แฮมป์ตัน
ทอตนัม ฮอตสเปอร์
เรอัลมาดริด
3เวย์น เฮนเนสซีย์2007–ปัจจุบัน1040วูลฟ์แฮมป์ตัน
คริสตัล พาเลซ
เบิร์นลีย์
4เนวิลล์ ซัททอลล์1982–1998920เอฟเวอร์ตัน
5แอชลีย์ วิลเลียมส์2008–2019862สวอนซี ซิตี
เอฟเวอร์ตัน
สโตก ซิตี
6แกรี่ สปีด1990–2004857ลีดส์ ยูไนเต็ด
เอฟเวอร์ตัน
นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
7โจ เลดลีย์2005–2018774คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
เซลติก
คริสตัล พาเลซ
ดาร์บี เคาน์ตี
8เคร็ก เบลลามี่1998–20137619นอริช ซิตี
โคเวนทรี ซิตี
นิวคาสเซิล
เซลติก
แบล็คเบิร์น โรเวอส์
ลิเวอร์พูล
เวสต์แฮม
แมนเชสเตอร์ซิตี
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
9ดีน ซอนเดอร์ส1986–20017522ไบรท์ตัน
ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
ดาร์บี เคาน์ตี
ลิเวอร์พูล
แอสตันวิลลา
กาลาตาซาราย
นอตติงแฮม ฟอเรสต์
เบนฟิกา
แอรอน แรมซีย์2008–ปัจจุบัน7520อาร์เซนอล
ยูเวนตุส
เรนเจอส์
11เบน เดวีส์2012–ปัจจุบัน741สวอนซี ซิตี
ทอตนัมฮอตสเปอร์
12ปีเตอร์ นิโคลัส1979–1992732คริสตัล พาเลซ
อาร์เซนอล
ลูตัน ทาวน์
อเบอร์ดีน
เชลซี
วัตฟอร์ด
เอียน รัช1980–19967328ลิเวอร์พูล
ยูเวนตุส
14มาร์ค ฮิวจ์ส1984–19997216แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
บาร์เยิร์น มิวนิก
บาร์เซโลนา
เชลซี
เซาท์แฮมป์ตัน
โจอี้ โจนส์1975–1986721ลิเวอร์พูล
เร็กซ์แฮม
เชลซี
ฮัดเดอส์ฟีลด์ ทาวน์
โจ อัลเลน2009–ปัจจุบัน722สวอนซี ซิตี
ลิเวอร์พูล
สโตก ซิตี
17อิวอร์ ออลเชิร์ช1950–19666823สวอนซี ซิตี
นิวคาสเซิล
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
18ไบรอัน ฟลินน์1975–1984667เบิร์นลีย์
ลีดส์ ยูไนเต็ด
19แอนดี เมลวิลล์1989–2004653สวอนซี ซิตี
ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
ซันเดอร์แลนด์
ฟูแลม
20ไรอัน กิกส์1991–20076412แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
แซม โวกส์2008–ปัจจุบัน6411วูลฟ์แฮมป์ตัน
เบิร์นลีย์
สโตก ซิตี
สถิติ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2022 หลังแข่งกับ   เนเธอร์แลนด์

รางวัลโกลเดน แคป

สมาคมฟุตบอลเวลส์ ได้จัดให้มีการมอบรางวัล โกลเดน แคป หรือ หมวกทีมชาติทองคำ ให้แก่นักฟุตบอลที่ลงเล่นให้กับทีมชาติมากกว่า 50 นัด ดังรายชื่อต่อไปนี้[3]สังเกต: ผู้ที่ยังคงเล่นให้กับทีมชาติจะแสดงเป็น ตัวหนา:

ผู้ทำประตูสูงสุด

แกเร็ท เบล ผู้ถือครองสถิติยิงประตูสูงสุดให้ทีมชาติเวลส์

แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน

อันดับชื่อช่วงเวลาประตูจำนวนนัดที่ลงสนามค่าเฉลี่ยการยิงต่อหนึ่งนัดสโมสร
1แกเร็ธ เบล2006–ปัจจุบัน401060.36เซาท์แฮมป์ตัน
ท็อตนัม ฮอตสเปอร์
รีล มาดริด
2เอียน รัช1980–199628730.38ลิเวอร์พูล
ยูเวนตุส
3เทรเวอร์ ฟอร์ด1946–195623380.60สวอนซี ซิตี
แอสตันวิลลา
ซันเดอร์แลนด์
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
อิวอร์ ออลเชิร์ช1950–196623680.33สวอนซี ซิตี
นิวคาสเซิล
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
5ดีน ซอนเดอร์ส1986–200122750.29ไบรท์ตัน
ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
ดาร์บี เคาน์ตี
ลิเวอร์พูล
แอสตันวิลลา
กาลาตาซาราย
นอตติงแฮม ฟอเรสต์
เบนฟิกา
6แอรอน แรมซีย์2008–ปัจจุบัน20750.27อาร์เซนอล
ยูเวนตุส
เรนเจอส์
7เคร็ก เบลลามี่1998–201319760.25นอริช ซิตี
โคเวนทรี ซิตี
นิวคาสเซิล
เซลติก
แบล็คเบิร์น โรเวอส์
ลิเวอร์พูล
เวสต์ แฮม
แมนเชสเตอร์ซิตี
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
8คลิฟฟ์ โจนส์1954–196916590.27สวอนซี ทาวน์
ท็อตนัม ฮอตสเปอร์
ฟูแลม
มาร์ค ฮิวจ์ส1984–199916720.22แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
บาร์เยิร์น มิวนิก
บาร์เซโลนา
เชลซี
เซาท์แฮมป์ตัน
โรเบิร์ต เอิร์นชอว์2002–201216580.27คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
นอริช ซิตี
ดาร์บี เคาน์ตี
เวสต์บรอมวิช
นอตติงแฮม ฟอเรสต์
11จอห์น ชาร์ลส์1950–196515380.39ลีดส์ ยูไนเต็ด
ยูเวนตุส
โรมา
คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
12จอห์น ฮาร์ทสัน1995–200514510.27อาร์เซนอล
เวสต์ แฮม
วิมเบิลดัน
เซลติก
13จอห์น ทอแช็ก1969–198013400.32คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
ลิเวอร์พูล
สวอนซี ซิตี
สถิติ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2022 หลังแข่งกับ   เนเธอร์แลนด์

สถิติด้านอายุ

  • ผู้เล่นทีมชาติที่มีอายุน้อยที่สุด :แฮร์รี วิลสัน (16 ปี 207 วัน)
  • ผู้เล่นทีมชาติที่มีอายุมากที่สุด :บิลลี่ เมเรดิธ (45 ปี 229 วัน)
  • ผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย :รอย เวอร์นอน (21 ปี 42 วัน)
  • ผู้เล่นอายุมากที่สุดในการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย :เดฟ โบเวน (30 ปี 1 วัน)

นักฟุตบอลเวลส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

  • รางวัลนักฟุตบอลเวลส์ยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ.1993
ปีผู้เล่นสโมสรอ้างอิง
1993มาร์ค ฮิวจ์ส แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[4]
1994มาร์ค ฮิวจ์ส แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[4]
1996ไรอัน กิกส์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
1998จอห์น ฮาร์ทสัน เวสต์แฮม ยูไนเต็ด[5]
1999พอล โจนส์ เซาท์แฮมป์ตัน[6]
2000จอห์น โรบินสัน ชาร์ลตัน แอธเลติก[7]
2001จอห์น ฮาร์ทสัน วิมเบิลดัน
โคเวนทรี ซิตี
เซลติก
[5]
2002ไซมอน เดวิส สเปอร์[8]
2003จอห์น ฮาร์ทสัน เซลติก[5]
2004โรเบิร์ต เอิร์นชอว์ คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
เวสต์ บรอมมิช
[9]
2005แดนนี แกบบิดอน คาร์ดิฟฟ์ ซิตี
เวสต์แฮม ยูไนเต็ด
[10]
2006ไรอัน กิกส์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[11]
2007เคร็ก เบลลามี ลิเวอร์พูล
เวสต์แฮม ยูไนเต็ด
[12]
2008ไซมอน เดวิส ฟูแลม[13]
2009แอชลีย์ วิลเลียมส์ สวอนซี ซิตี[14]
2010แกเร็ธ เบล สเปอร์[15]
2011แกเร็ธ เบล สเปอร์[16]
2012โจ แอลเลน สวอนซี ซิตี
ลิเวอร์พูล
[9]
2013แกเร็ธ เบล สเปอร์
เรอัลมาดริด
[17]
2014แกเร็ธ เบล เรอัลมาดริด[18]
2015แกเร็ธ เบล เรอัลมาดริด[19]
2016แกเร็ธ เบล เรอัลมาดริด[20]
2017คริส กันเทอร์ เรดิง[21]
2018เดวิด บรูคส์ บอร์นมัท[22]

ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน

ผู้สนับสนุนช่วงปี
แอดมิรัล สปอร์ตแวร์1976-1980
อาดิดาส1980-1986
ฮัมเมล1987-1989
อัมโบร1990-1994
ล็อตโต้1996-2000
แคปปา2000-2008
แชมเปียน2008-2010
อัมโบร2010-2013
อาดิดาส2013-ปัจจุบัน

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง