วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรประจำเดือน/พ.ศ. 2566



บทความคัดสรรแบ่งตามปี
2548 - 2549 - 2550 - 2551 - 2552 - 2553 - 2554 - 2555 - 2556 - 2557 - 2558 - 2559 - 2560 - 2561 - 2562 - 2563 - 2564 - 2565 - 2566 - 2567


มกราคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

ธงชาติเบลารุสในปัจจุบัน
ธงชาติเบลารุสในปัจจุบัน

ธงชาติเบลารุส เป็นธงสีแดงและสีเขียวที่มีลวดลายประดับสีขาวและสีแดงอยู่ที่ปลายรอก (เสาธง) ธงชาติเบลารุสแบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้นได้รับการแนะนำโดยคณะกรรมการแห่งรัฐว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของสาธารณรัฐเบลารุสใน พ.ศ. 2555 และดัดแปลงมาจากการออกแบบที่ได้รับอนุมัติในการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 ธงนี้เป็นการดัดแปลงจากธงใน พ.ศ. 2494 ที่ใช้ในขณะที่ประเทศนี้เป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธงในสมัยโซเวียตคือการยกเอาสัญลักษณ์คอมมิวนิสต์ค้อนเคียวและดาวแดงออก เช่นเดียวกับการกลับด้านของสีในรูปแบบการประดับ นับตั้งแต่การลงประชามติใน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ธงขององค์กรและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในเบลารุสหลายแห่งล้วนดัดแปลงจากรูปแบบของธงชาติด้วย

ในอดีต ธงขาวแดงขาวถูกใช้โดยสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสใน พ.ศ. 2461 ก่อนที่เบลารุสจะกลายเป็นสาธารณรัฐโซเวียต จากนั้นถูกใช้โดยขบวนการชาติเบลารุสในเบลารุสตะวันตก ตามมาด้วยการใช้อย่างไม่เป็นทางการอย่างแพร่หลายระหว่างการยึดครองเบลารุสของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2487 และอีกครั้งหลังจากได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 จนถึงการลงประชามติใน พ.ศ. 2538 กลุ่มต่อต้านยังคงใช้ธงนี้ต่อไป แม้ว่าการแสดงธงนี้ในเบลารุสจะถูกจำกัดโดยรัฐบาลเบลารุส ซึ่งอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับความร่วมมือของนาซีเนื่องจากการใช้โดยผู้สมรู้ร่วมคิดชาวเบลารุสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ธงขาวแดงขาวถูกนำมาใช้ในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ล่าสุดที่มีการใช้คือการประท้วงในประเทศเมื่อ พ.ศ. 2563–2564 และโดยชาวเบลารุสพลัดถิ่น (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: หลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซียการออกเสียงคำว่า GIF


กุมภาพันธ์ 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

อนุสาวรีย์ โผน กิ่งเพชร ที่ชายหาดหัวหิน
อนุสาวรีย์ โผน กิ่งเพชร ที่ชายหาดหัวหิน

โผน กิ่งเพชร (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2525) แชมป์โลกชาวไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ โผนเป็นนักมวยรูปร่างผอมบาง มีช่วงขาที่ยาว ถนัดขวา และเป็นแชมป์โลกชาวไทยคนแรกที่ได้ครองแชมป์โลกถึง 3 สมัย แต่ด้วยปัญหาส่วนตัว ทำให้โผนติดสุราจนการชกตกต่ำลง จนเสียแชมป์ไปและไม่มีโอกาสชิงแชมป์คืนได้อีก โผนถือเป็นตำนานของวงการมวยสากลคนหนึ่งของไทย วันที่โผนชิงแชมป์โลกได้ถูกกำหนดให้เป็นวันนักกีฬาไทย และมีการสร้างอนุสรณ์สถานของโผนที่หัวหินหลังจากที่โผนเสียชีวิตไปแล้ว 10 ปี (อ่านต่อ...)

(หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความคัดสรร แต่เป็นบทความคุณภาพ ซึ่งถือว่ามีคุณภาพรองลงมา)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ธงชาติเบลารุสหลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซีย


มีนาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเนื่องในวันมาฆบูชา
พระพุทธเจ้าทรงให้โอวาทเนื่องในวันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินฮินดู หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 (อ่านต่อ...)

(หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ใช่บทความคัดสรร แต่เป็นบทความคุณภาพ ซึ่งถือว่ามีคุณภาพรองลงมา)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ธงชาติเบลารุสหลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซีย


เมษายน 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี เป็นสาธารณรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนประมาณ 23% ของดินแดนฮังการีในอดีต ดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 1919 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 1919 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 133 วัน สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการเสื่อมถอยของสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่งในช่วงต้นปี 1919 สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีมีสถานะเป็นรัฐตกค้างสังคมนิยมขนาดเล็ก มีหัวหน้ารัฐบาลคือซานโดร์ กอร์บอยี แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเบ-ลอ กุน กลับมีอำนาจและอิทธิพลในสาธารณรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีมากกว่า การที่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับไตรภาคี ซึ่งยังคงปิดล้อมทางเศรษฐกิจในฮังการี อีกทั้งความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านในด้านดินแดน และความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมอย่างถึงแก่น ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตล้มเหลวในเป้าหมายที่วางไว้ และถูกล้มล้างในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ก่อตั้ง บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในสาธารณรัฐโซเวียตคือ ผู้นำคอมมิวนิสต์เบ-ลอ กุน ถึงแม้ว่าในช่วงแรกโครงสร้างรัฐบาลใหม่ส่วนใหญ่จะมาจากพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมก็ตาม ระบอบใหม่นี้รวบรวมอำนาจอย่างมีประสิทธิผลในสภาปกครอง ซึ่งใช้อำนาจนี้ในนามของชนชั้นกรรมาชีพ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ธงชาติเบลารุสหลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจายสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอับคาเซีย


พฤษภาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

เทย์เลอร์ สวิฟต์ กำลังแสดงสดเพลง "สไตล์" เมื่อปี ค.ศ. 2016
เทย์เลอร์ สวิฟต์ กำลังแสดงสดเพลง "สไตล์" เมื่อปี ค.ศ. 2016

"สไตล์" เป็นเพลงของนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ (ในภาพ) เป็นเพลงลำดับที่สามจากสตูดิโออัลบั้มที่ห้า 1989 (2014) "สไตล์" เป็นเพลงป็อปร็อก เขียนโดยสวิฟต์ แมกซ์ มาร์ติน เชลล์แบ็ก และอาลี พายามี เพลงออกเผยแพร่สูวิทยุโดยสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์ พร้อมกับสังกัดหุ้นส่วนของสวิฟต์ที่ชื่อบิกแมชีนเรเคิดส์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 เป็นซิงเกิลที่สามต่อจากเพลง "แบลงก์สเปซ"

"สไตล์" ได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกจากนักวิจารณ์เพลง โดยยกย่องการผลิตเพลงแบบยุค 80 และโทนที่น่าตื่นเต้น "สไตล์" ขึ้นถึงอันดับหกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นซิงเกิลที่ขึ้นสิบอันดับแรกเป็นเพลงที่สามจากอัลบั้ม 1989 ในประเทศ และในชาร์ตในประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ และขึ้น 40 อันดับแรกในสหราชอาณาจักร ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีธงชาติเบลารุสหลอดลมฝอยอักเสบทั่วแบบกระจาย


มิถุนายน 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกันแนวตลกดรามา ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2007 สร้างโดย พิกซาร์ และจัดจำหน่ายโดย วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ เป็นภาพยนตร์เรื่องที่แปดของพิกซาร์ เขียนบทและกำกับโดย แบรด เบิร์ด โดยรับช่วงต่อจาก ยาน พิงคาวา ในปี ค.ศ. 2005 และอำนวยการสร้างโดย แบรด ลูอิส จากความคิดเดิมของยาน พิงคาวา ชื่อเรื่องของภาพยนตร์หมายถึงอาหารฝรั่งเศส ราตาตูย ซึ่งเป็นอาหารที่เสิร์ฟในตอนท้ายเรื่องและยังอ้างอิงถึง หนู ซึ่งเป็นตัวละครหลัก ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของหนูที่มีชื่อว่า เรมี ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นเชฟและพยายามบรรลุเป้าหมายด้วยการเป็นพันธมิตรกับเด็กเก็บขยะของร้านอาหารในปารีส

ภาพยนตร์แสดงนำโดยการให้เสียงของ แพตตัน ออสวอลต์ เป็น เรมี หนูที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ ผู้สนใจในการทำอาหาร, ลู โรมาโน เป็น อัลเฟรโด ลิงกวินี เด็กเก็บขยะที่มาเป็นเพื่อนกับเรมี, เอียน โฮล์ม เป็น สกินเนอร์ หัวหน้าพ่อครัวของร้านอาหารของออกุสต์ กุสโต, จานีน กาโรฟาโล เป็น คอลเลตต์ ทาทูว์ เชฟย่างที่ร้านอาหารของกุสโตและเป็นเชฟผู้หญิงคนเดียวในร้าน, ปีเตอร์ โอทูล เป็น แอนทอน อีโก นักวิจารณ์ร้านอาหาร, ไบรอัน เดนเนฮี เป็น จังโก พ่อของเรมีและผู้นำเผ่าของเขา, ปีเตอร์ ซอห์น เป็น เอมิล พี่ชายของเรมี และ แบรด การ์เรตต์ เป็น ออกุสต์ กุสโต พ่อครัวที่เพิ่งเสียชีวิต (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: สไตล์ (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีธงชาติเบลารุส


กรกฎาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สอง เป็นการระงับข้อพิพาททางดินแดนระหว่างฮังการีและโรมาเนียในการแบ่งภูมิภาคทรานซิลเวเนีย ซึ่งฮังการีสูญเสียไปภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตามสนธิสัญญาทรียานง โดยมีนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีเป็นประเทศผู้ไกล่เกลี่ย จากผลลัพธ์ของคำตัดสินนี้ บังคับให้โรมาเนียส่งคืนดินแดนทางตอนเหนือของทรานซิลเวเนียแก่ฮังการีในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1940 และทำให้ข้อพิพาททางดินแดนระหว่างสองประเทศดำเนินต่อไปตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ฮังการีสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ในสมัยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือทรานซิลเวเนียที่เสียไปให้กับโรมาเนีย ตามการสนับสนุนการแบ่งดินแดนของข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซาย การขยายอาณาเขตของโรมาเนียนำไปสู่ความกังวลในการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนในช่วงระหว่างสงครามและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรมาเนียกับมหาอำนาจผู้ชนะสงครามโลก ซึ่งล้วนเป็นประเทศยุโรปที่สนับสนุนสนธิสัญญาแวร์ซายทั้งสิ้น ในทางกลับกัน ฮังการียังคงยืนหยัดในจุดยืนของการแก้ไขสนธิสัญญาอย่างเข้มข้น เพื่อฟื้นฟูทั้งหมดหรือบางส่วนของภูมิภาคที่สูญเสียไป (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลกสไตล์ (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี


สิงหาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

"วีแคนดูอิต!" เป็นโปสเตอร์อเมริกันในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ผลิตโดย เจ. ฮาวเวิร์ด มิลเลอร์ (J. Howard Miller) ในปี 1943 ให้กับบริษัทเวสซิงเฮาส์อิเล็กทริกเพื่อเป็นภาพสร้างแรงบันดาลใจและสร้างขวัญกำลังใจแก่คนงานผู้หญิง

โปสเตอร์นี้มีให้พบเห็นน้อยครั้งในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง กระทั่งได้รับการค้นพบใหม่อีกครั้งในต้นทศวรรษ 1980 และมีการนำมาผลิตใหม่ในหลายรูปแบบ นอกจากจะเรียกชื่อโปสเตอร์นี้ว่า "เราทำได้!" แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "โรสซีเดอะริฟเวตเตอร์" (โรสซี คนเจาะหมุด) ตามตัวละครบุคคลรูปคนงานผู้หญิงฝ่ายผลิตที่ดูแข็งแกร่ง ภาพ "เราทำได้!" มีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรี และปัญหาทางการเมืองอื่น ๆ เริ่มต้นในทศวรรษ 1980 ภาพนี้กลายมาเป็นภาพปกของนิตยสาร สมิตโซเนียน ในปี 1994 และได้รับการนำไปปรับใช้เป็นดวงตราไปรษณียากรระดับหนึ่งของสหรัฐ (US first-class mail stamp) ในปี 1999 ต่อมาในปี 2008 ภาพนี้ได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อรณรงค์ของนักการเมืองอเมริกันหลายคน และในปี 2010 ได้นำมาสร้างสรรค์ใหม่เพื่อเฉลิมฉลองนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนแรกที่เป็นผู้หญิง โปสเตอร์นี้เป็นหนึ่งในสิบภาพที่ถูกร้องขอมากที่สุดขององค์การสื่อเสียงและหอสมุดแห่งชาติ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สองระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลกสไตล์ (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)


กันยายน 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

รูปชอสตโกวิชและโน้ตเพลงบนไปรษณียากรที่ระลึกของสหภาพโซเวียต
รูปชอสตโกวิชและโน้ตเพลงบนไปรษณียากรที่ระลึกของสหภาพโซเวียต

การบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในขณะที่นครเลนินกราด (ปัจจุบันคือเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) อยู่ภายใต้การปิดล้อมโดยกองกำลังเยอรมนีนาซี

ดมีตรี ชอสตโกวิช ต้องการให้วงเลนินกราดฟิลฮาร์มอนิกออร์เคสตราเป็นวงที่จะมาบรรเลงซิมโฟนีในรอบปฐมทัศน์ แต่เนื่องจากการปิดล้อม กลุ่มคนดังกล่าวได้อพยพออกจากเมืองเช่นเดียวกับผู้ประพันธ์เอง การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ของโลกของซิมโฟนีบทนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่คูบืยเชียฟ โดยวงดุริยางค์โรงละครบอลชอย การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ดำเนินการโดยนักดนตรีจากวงดุริยางค์วิทยุเลนินกราดที่ยังหลงเหลืออยู่ เสริมด้วยนักดนตรีที่เป็นทหาร โดยมีคาร์ล อีเลียซบูร์ก ทำหน้าที่เป็นวาทยากร นักดนตรีส่วนใหญ่กำลังทุกข์ทรมานจากความอดอยาก ซึ่งทำให้การซ้อมเป็นไปอย่างยากลำบาก นักดนตรีมักจะล้มลงระหว่างการซ้อม และมี 3 คนเสียชีวิต วงออร์เคสตราสามารถเล่นซิมโฟนีได้จนจบคอนเสิร์ตเพียงครั้งเดียว

แม้ว่าสภาพของนักดนตรีจะย่ำแย่ แต่คอนเสิร์ตก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับการปรบมือนานหนึ่งชั่วโมง คอนเสิร์ตได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพโซเวียตในปฏิบัติการพิเศษ ชื่อรหัสว่า "พายุ" โดยตั้งใจจะหยุดกองทัพเยอรมันในระหว่างการบรรเลง ซิมโฟนีถูกเผยแพร่ไปยังแนวเยอรมันโดยลำโพงเป็นรูปแบบของสงครามจิตวิทยา การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ได้รับการพิจารณาโดยนักวิจารณ์ดนตรีให้เป็นหนึ่งในการแสดงศิลปะที่สำคัญที่สุดของสงครามเนื่องจากผลกระทบด้านจิตวิทยาและทางการเมือง วาทยากรกล่าวว่า "ในขณะนั้นเราได้รับชัยชนะเหนือเครื่องจักรสงครามของนาซีที่ไร้จิตวิญญาณ" มีการจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งโดยนักดนตรีที่รอดซีวิตใน พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2535 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: วีแคนดูอิต!การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สองระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก


ตุลาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติศาสตราจารย์เกียรติคุณ เจตนา นาควัชระ (เกิด 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2480) เป็นนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวไทย ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขาภาษาเยอรมัน มีผลงานสำคัญด้านภาษาและวรรณคดีเยอรมัน วรรณคดีเปรียบเทียบ การวิจารณ์ศิลปะ และการอุดมศึกษา เขาได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักด์จากมหาวิทยาลัยไทยรวม 5 แห่งและมหาวิทยาลัยทือบิงเงินในเยอรมนี และยังได้รับรางวัลที่สำคัญได้แก่ เหรียญเกอเธ่ รางวัลการวิจัยมูลนิธิฮุมโบลท์ ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และรางวัลนราธิป

เจตนาเกิดในครอบครัวที่มีบิดามารดาเป็นครู เขาเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาสอบได้อันดับหนึ่งในแผนกอักษรศาสตร์ของประเทศไทย ต่อมาได้รับทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อในยุโรปตั้งแต่ปริญญาตรีจนสำเร็จปริญญเอก เขามีโอกาสได้เป็นนักวิชาการแลกเปลี่ยนในสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีหลายครั้งด้วยทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ เจตนาจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวเชื่อมโลกวิชาการตะวันตกเข้ากับประเทศไทย

ในฐานะนักวิชาการ งานของเจตนาในระยะแรกประกอบด้วยวรรณคดีเปรียบเทียบและวรรณคดีเยอรมัน นอกจากนี้เจตนาเขียนหนังสือ บทความสำหรับผู้อ่านทั่วไป และผู้อ่านทางวิชาการโดยใช้ภาษาไทยอันเป็นภาษาแม่ รวมถึงภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน และภาษาฝรั่งเศส เขาได้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยในช่วงหลังผ่านงานเขียนและการบรรยายจากผลงานการวิจารณ์ศิลปะ รวมถึงการอาสาเป็นผู้นำทางความคิดในวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: การบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราดวีแคนดูอิต!การอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สอง


พฤศจิกายน 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

หลอดไฟที่บรรจุแก๊สมีตระกูล ฮีเลียม, นีออน, อาร์กอน, คริปทอน และซีนอน ตามลำดับจากซ้ายไปขวา
หลอดไฟที่บรรจุแก๊สมีตระกูล ฮีเลียม, นีออน, อาร์กอน, คริปทอน และซีนอน ตามลำดับจากซ้ายไปขวา

แก๊สมีสกุล หรือ แก๊สมีตระกูล (ในอดีตเรียกว่า แก๊สเฉื่อย หรือบางครั้งใช้ชื่อว่า aerogens) เป็นกลุ่มของธาตุทางเคมีที่มีสมบัติคล้ายกัน ภายใต้ภาวะมาตรฐานสำหรับอุณหภูมิและความดันธาตุเหล่านี้ต่างไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวซึ่งไม่มีความว่องไวต่อปฏิกริยาเคมี แก๊สมีสกุลที่เกิดในธรรมชาติทั้งหกธาตุ ได้แก่ ฮีเลียม (He), นีออน (Ne), อาร์กอน (Ar), คริปทอน (Kr), ซีนอน (Xe) (ในภาพตามลำดับ) และเรดอน (Rn)

โอกาเนสซอน (Og) เป็นธาตุสังเคราะห์มีความเป็นกัมมันตรังสีสูงมาก แม้ว่า IUPAC จัดโอกาเนสซอนเป็นแก๊สมีสกุลหรือหมู่ที่ 18 มันอาจไม่เฉื่อยทางเคมีเหมือนธาตุอื่นในหมู่เดียวกัน และถูกทำนายว่าจะสลายและแผ่กัมมันตรังสีเนื่องจากปรากฏการณ์สัมพัทธ์ เนื่องจากครึ่งชีวิตที่สั้นเพียง 0.7 ไมโครวินาทีของไอโซโทปตัวเดียว ทำให้คุณสมบัติทางเคมีของโอกาเนสซอนยังไม่มีการศึกษามากนัก

สำหรับหกคาบแรกของตารางธาตุ แก๊สมีสกุลเป็นสมาชิกของธาตุหมู่ 18 อย่างแท้จริง แก๊สมีสกุลมักจะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างมาก ยกเว้นภายใต้สภาวะสุดขั้ว ความเฉื่อยของแก๊สมีสกุลทำให้มันสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย เนื่องจากความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาน้อย เช่นการเติมอาร์กอนในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาเพื่อป้องกันไม่ให้ไส้หลอดทังสเตนเกิดการออกซิไดส์ และฮีเลียมใช้เติมถังแก๊สสำหรับหายใจสำหรับนักดำน้ำลึก เพื่อป้องกันภาวะเป็นพิษจากแก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: เจตนา นาควัชระการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราดวีแคนดูอิต!


ธันวาคม 2566

ดู - สนทนา - ประวัติ

ปัสสาวะของผู้ป่วยกล้ามเนื้อลายสลายตัวมีสีน้ำตาลเนื่องจากมีไมโยโกลบินปะปนในปัสสาวะ
ปัสสาวะของผู้ป่วยกล้ามเนื้อลายสลายตัวมีสีน้ำตาลเนื่องจากมีไมโยโกลบินปะปนในปัสสาวะ

กล้ามเนื้อลายสลายตัว เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อลายที่บาดเจ็บเกิดการสลายตัวอย่างรวดเร็ว อาการอาจประกอบด้วยปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนแรง, อาเจียน และ ความสับสน นอกจากนี้อาจพบภาวะปัสสาวะเป็นสีชา หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ผลิตภัณฑ์จากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น โปรตีนไมโยโกลบิน เป็นอันตรายต่อไตและสามารถก่อภาวะไตเสียหายเฉียบพลันได้

การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมักเกิดจากกลุ่มอาการถูกบดอัด, การออกกำลังกายหนักติดต่อกันนาน, ยาบางชนิด หรือการใช้สาร สาเหตุอื่น ๆ ยังอาจรวมถึงการติดเชื้อ, การบาดเจ็บจากไฟฟ้า, ฮีตสโตรก, การไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน, แขนขาขาดเลือด หรือ การถูกงูกัด การออกกำลังกายเป็นเวลานานสามารถเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและแรบโดมัยโอลัยสิสได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน สตาติน ซึ่งเป็นยาสั่งสำหรับลดระดับคอเลสเตอรอล อาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้ แต่ถือว่าความเสี่ยงต่ำ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อลายสลายได้ การวินิจฉัยสามารถสนับสนุนได้ด้วยการทำสตริปตรวจปัสสาวะ ซึ่งจะให้ผลบวกสำหรับเม็ดเลือด แต่เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่พบตัวเม็ดเลือดแดง การตรวจเลือดจะพบครีเอทีนคิเนสที่สูงกว่า 1,000 U/L หรือในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจพบได้สูงถึง 5,000-15,000 U/L (อ่านต่อ...)

บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: แก๊สมีสกุลเจตนา นาควัชระการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราด


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง