เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช

เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช เป็นการก่อการร้ายของกลุ่มขวาจัดหัวรุนแรง ณ มัสยิดอันนูรและศูนย์อิสลามลินวุด ในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างการละหมาด เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการกราดยิง 51 คน และบาดเจ็บ 49 คน ผู้ต้องสงสัยทั้งสามคนได้ถูกตั้งข้อหาแล้วหนึ่งคดี การโจมตีในครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่าการก่อการร้ายโดยจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และรัฐบาลอีกหลายประเทศ

เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายในประเทศนิวซีแลนด์และการเมืองฝ่ายขวาจัดในประเทศออสเตรเลีย
มัสยิดอันนูร (Al Noor Mosque) ในปี 2019
แผนที่
สถานที่ตั้งมัสยิดอันนูรและศูนย์อิสลามลินวุด
สถานที่ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์
พิกัด43°31′58″S 172°36′42″E / 43.5329°S 172.6118°E / -43.5329; 172.6118
วันที่15 มีนาคม พ.ศ. 2562
13:40 น. - 13:59 น. (ตามเวลาออมแสงนิวซีแลนด์)
ประเภทเหตุกราดยิง[1], การก่อการร้าย[2] ฆาตกรฆ่าสนุก, อาชญากรรมจากความเกลียดชัง
อาวุธ
  • ปืนเล็กยาวอัตโนมัติสองกระบอก
  • ปืนลูกซองสองกระบอก
  • ปืนเล็กยาวโจมตีระดับหนึ่งหนึ่งกระบอก
  • ระเบิดแสวงเครื่องที่ไม่ทำงาน
ตาย51 คน[3]
เจ็บ40 คน
ผู้ต้องสงสัยเบรนตัน ทาร์แรนต์
เหตุจูงใจ

การโจมตีในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงกว่าทุกเหตุถือเกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งล่าสุดในการจลาจลของนักโทษเฟเทอร์สตันในค่ายกักกัน พ.ศ. 2486 ที่มีผู้เสียชีวิตรวม 49 คน[7] นับเป็นครั้งแรกของเหตุกราดยิงในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดเหตุขึ้นในการสังหารหมู่เรารีมู ปี พ.ศ. 2540[8][9][10]

เหตุโจมตี

เหตุโจมตีได้เริ่มต้นขึ้นที่มัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน และศูนย์อิสลามลินวุด เมื่อเวลา 13:40 น. ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตามเวลาออมแสงกลางนิวซีแลนด์ (00:40 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด)[11][12][13]

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบระเบิดติดรถของผู้ก่อเหตุจำนวนสองคัน[14] กองทัพนิวซีแลนด์ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้[14][15][14]

มัสยิดอันนูร

มือปืนติดอาวุธหนักได้เดินทางมายังมัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน เมื่อเวลาประมาณ 13:40 น.[16] มือปืนกราดยิงมัสยิดอันนูรได้ถ่ายทอดสดการโจมตีของตนเป็นเวลา 17 นาที ผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กไลฟ์ เริ่มตั้งแต่ตอนที่ขับรถไปที่มัสยิดจนถึงขับหนีไป[17] โดยได้อธิบายตนเองว่าเป็นคนผิวขาวหัวรุนแรงชาวออสเตรเลีย อายุ 28 ปี[18][19] ในช่วงต้นของการถ่ายทอดสด มือปืนได้ขับรถของตนไปยังเป้าหมาย โดยในระหว่างทางได้เปิดเพลงภาษาเซอร์เบีย ซึ่งมีเนื้อหาสรรเสริญราดอวาน คาราจิช ผู้ที่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมบอสเนีย[20][21] ในเหตุกราดยิงครั้งนี้ ผู้ก่อเหตุได้มีการอ้างถึงวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต และมีมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ โดยได้กล่าวไว้ว่า "จำไว้นะหนู อย่าลืมที่จะไปกดติดตามพิวดีพาย" ระหว่างที่กำลังถ่ายทอดสดก่อนที่จะบุกเข้าไปก่อเหตุ ซึ่งเป็นการอ้างถึง การแข่งขันครองตำแหน่งผู้กดติดตามสูงสุดบนสื่อวิดีทัศน์อย่าง ยูทูบ ซึ่งเรียกกันว่า พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์ [22] ก่อนเหตุการณ์กราดยิง มือปืนได้ถูกผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี พี่ชาย" และคนนั้นก็ได้ถูกสังหารเป็นกลุ่มคนแรกเริ่ม[23][24]

ปืนที่ใช้ในการโจมตีของมือปืน ถูกสลักด้วยอักษรสีขาว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อของบุคคลในอดีตที่สำคัญ รวมถึงชื่อคนสำคัญในสงครามครูเสด ซึ่งเป็นการสู้รบของชาวมุสลิมกับชาวคริสต์[18][25] มีการสันนิษฐานว่า อาจมีคนประมาณสามร้อยถึงห้าร้อยคนอยู่ในมัสยิดได้เข้าร่วมพิธีกรรมละหมาดประจำวันศุกร์ระหว่างที่โดยกราดยิง[26] ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับมัสยิดได้เล่าเหตุการณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า มือปืนได้รีบหนีออกจากมัสยิดแล้วขับรถ ระหว่างนั้นได้ทิ้งปืนที่ใช้ในการก่อเหตุลงระหว่างข้างทาง[27]

ศูนย์อิสลามลินวุด

เหตุกราดยิงที่สองเกิดขึ้นเวลาประมาณ 13:55 น.[28]ที่ศูนย์อิสลามลินวุด[29][30] รายงานในช่วงต้นเหตุการณ์ ได้รายงานว่า "มีการโจมตีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน"[31] มีหนึ่งคนที่ถูกตั้งข้อหาว่าเป็น "ผู้วางแผน" ในการกราดยิงบริเวณที่เกิดเหตุ[32] มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7 คนภายในมัสยิด ในนั้นมีผู้เสียชีวิตภายนอกทั้งหมด 3 คน[33]

ระเบิด

ตำรวจได้พบระเบิดแสวงเครื่องสองอันติดอยู่ที่รถ และถูกกู้โดยกองทัพนิวซีแลนด์ในเวลาต่อมา[34] ไม่มีวัตถุระเบิดถูกพบบนตัวมือปืน[35]

หลังเหตุโจมตี

ภาคการบริการฉุกเฉิน

อธิบดีตำรวจ ไมค์ บุช ได้กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปยังที่เกิดเหตุที่มัสยิดแห่งแรกหลังจากเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13:42 นาฬิกา[36] ในการวิพากย์วิจารณ์ การตอบสนองเหตุต่อเหตุครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ได้ช้าจนเกินไป โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมทาร์แรนต์ภายในระยะเวลา 21 นาที ผู้บัญชาการตำรวจประจำเขต จอห์น ไพซ์ ได้กล่าวว่า "นี่ถือว่าเป็นการตอบสนองที่ถือว่าเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขาคืออาชญากรมือถือที่กำลังจะข้ามเมืองใหญ่"[37]

ศูนย์รถพยาบาลเซนต์จอห์น ได้ส่งรถพยาบาลจำนวน 20 คัน และพาหนะอื่นที่เกี่ยวข้องมายังมัสยิด[38] ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลไครสต์เชิรช์ โดยมีผู้บาดเจ็บจากกระสุนปืนจำนวนสี่สิบแปดคน และเด็กเล็กถูกรักษาที่โรงพยาบาล[39][40] บางคนถูกส่งไปยังโรงพยาบาลอื่นภายในเมืองไครสต์เชิรช์และภายในประเทศ[41] คณะทำงานสุขภาพเขตแคนเทอร์บูลี่จำเป็นต้องจ่ายแผนประกันการสูญเสียเป็นจำนวนมาก[39] แพทย์สนามได้อธิบายมัสยิดว่าเป็นแม่น้ำสายเลือดไหลออกมากจายภายในมัสยิด[42] และต้องก้าวข้ามผ่านศพเพื่อไปช่วยเหลือผู้ที่บาดเจ็บอยู่[43]

ผลสืบเนื่อง

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ได้เรียกเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้ว่า "เป็นการกระทำที่บ้าคลั่ง อย่างที่ไม่มีเคยเกิดขึ้นมาก่อน" และยังกล่าวอีกว่า "เป็นวันที่มืดมิดที่สุดของนิวซีแลนด์"[44][45][46] และยังได้อธิบายว่าเป็นการก่อร้ายที่วางแผนได้เฉียบขาด[41] นายกเทศมนตรีเมืองไครสต์เชิรช์ เลียน์ ดาลซีน อธิบายว่า ไม่เคยนึกว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในประเทศนิวซีแลนด์ ยังกล่าวอีกว่า "ทุกคนอยู่ในความรู้สึกตกใจมาก"[41] สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร, ราชินีแห่งนิวซีแลนด์ พระองค์ได้รู้สึก "เศร้าใจ" ต่อเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้ว่า "เจ้าชายฟิลิปและฉัน ได้ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังครอบครัว และเพื่อนของผู้ที่สูญเสียชีวิต"[47] ผู้นำระดับโลกและนักการเมืองหลายคงได้ออกมาโจมตีต่อผู้ที่เป็นอิสลามโมโฟเบียที่มีอัตราสูงขึ้น[48][49][50][51]

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เทเรซา เมย์ ได้อธิบายความรู้สึกต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ "เป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่น่ากลัว" และยังกล่าวอีกว่า "ความคิดของฉันคือผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้จากการโจมตีที่น่ารังเกียจ[เป็นอย่างไร]"[52]

นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด ได้แสดง"ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" และได้เล่าว่า "แคนาดายังจำได้ถึงความเศร้าโศกเสียใจ ที่พวกเราได้รู้สึกจากเหตุการณ์โจมตีที่ไร้สติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งเมืองเกแบ็ก ได้พรากชีวิตผู้บริสุทธิ์หลายคนที่กำลังสวดภาวนาอยู่" ในส่วนนี้เป็นการอ้างถึงเหตุการณ์เหตุกราดยิงมัสยิดในเมืองเกแบ็ก ใน พ.ศ. 2560[53]

ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้แสดงความรู้สึกของตน "เข้าใจหัวอก และขอแสดงความปรารถนาดีแด่ประชาชนนิวซีแลนด์ทุกคน" และยังให้หน่วยงานอย่างเอฟบีไอเข้าร่วมสอบสวน[54][55][56][57] อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ได้แสดงความเสียใจ และอยากให้มัสยิดทั่วสหรัฐรักษาความปลอดภัยเข้มงวดมากขึ้น[58][59]

ยูทูบเบอร์ชาวสวีเดน เฟลิกซ์ เชลล์แบรย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกอ้างถึงโดยผู้ก่อเหตุ ซึ่งได้โพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์มีใจความว่า "ผมรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่มีชื่อผมถูกเปล่งออกมาจากเขา[ผู้ก่อเหตุ]" และได้แสดงความเสียใจต่อผู้ที่มีส่วนต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้[22][60]

ผู้ต้องสงสัย

เบรนตัน ทาร์แรนต์
เกิดเบรนตัน แฮริสัน ทาร์แรนต์
พ.ศ. 2533/2534 (อายุ 28-29 ปี)
เกฟตัน, รัฐนิวเซาท์เวลส์, ประเทศออสเตรเลีย
อาชีพครูฝึกสอนส่วนตัว
มีชื่อเสียงจากเหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช
ข้อหาฆาตกรรม

เบรนตัน ทาร์แรนต์ (อังกฤษ: Brenton Tarrant) ผู้ต้องสงสัยชาวออสเตรเลีย อายุ 28 ปี เชื่อว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ รายงานแรกกล่าวถึงการโจมตีหลายครั้งติดต่อกัน[61] แต่ภายหลังมีผู้ต้องสงสัยเพียงคนเดียว[62][63] เขาถูกจับที่ถนนบราวแฮม[64] โดยตำรวจ 36 นาทีหลังการโทรฉุกเฉิน[65][66] จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่านายทาร์แรนต์วางแผนจะโจมตีที่อื่นอีก[65]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง