ประเทศโบลิเวีย

โบลิเวีย (สเปน: Bolivia, ออกเสียง: [boˈliβja] ( ฟังเสียง)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐพหุชนชาติโบลิเวีย (Estado Plurinacional de Bolivia)[9] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางตอนกลาง-ตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญคือซูเกร ในขณะที่ที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงฝ่ายบริหารคือลาปาซ ส่วนเมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลักคือซานตากรุซเดลาซิเอร์ราซึ่งตั้งอยู่ใน ยาโนสโอริเอนตาเลส หรือที่ราบทางภาคตะวันออกของประเทศ

รัฐพหุชนชาติโบลิเวีย

Estado Plurinacional de Bolivia (สเปน)
Puliwya Mamallaqta (เกชัว)
Wuliwya Suyu (ไอมารา)
Tetã Hetãvoregua Mborivia (กวารานี)
คำขวัญ"ความเป็นหนึ่งเดียวคือพลัง"
(สเปน: La Unión es la Fuerza)[1]
ธงควบคู่
วีพาลา

ที่ตั้งของ ประเทศโบลิเวีย  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศโบลิเวีย  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

เมืองหลวงซูเกร (ตามรัฐธรรมนูญและฝ่ายตุลาการ)
ลาปาซ (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)
เมืองใหญ่สุดซานตากรุซเดลาซิเอร์รา
17°48′S 63°10′W / 17.800°S 63.167°W / -17.800; -63.167
ภาษาราชการ[2]
ภาษาอื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2009[3])
  • 68% เมสติโซ (ลูกผสมระหว่างชนผิวขาวกับชนพื้นเมือง)
  • 20% ชนพื้นเมือง
  • 5% ชนผิวขาว
  • 2% โชโล
  • 1% ชนผิวดำ
  • 1% อื่น ๆ
  • 3% ไม่ระบุ
ศาสนา
(ค.ศ. 2018)[4]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญระบบประธานาธิบดี
• ประธานาธิบดี
ลุยส์ อาร์เซ
• รองประธานาธิบดี
ดาบิด โชเกวังกา
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติพหุชนชาติ
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
จากสเปน
• ประกาศ
6 สิงหาคม ค.ศ. 1825
• ได้รับการรับรอง
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1847
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009
พื้นที่
• รวม
1,098,581 ตารางกิโลเมตร (424,164 ตารางไมล์) (อันดับที่ 27)
1.29
ประชากร
• ค.ศ. 2019[5] ประมาณ
11,428,245 (อันดับที่ 83)
10.4 ต่อตารางกิโลเมตร (26.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 224)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
89.018 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 88)
7,790 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 123)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
40.687 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 90)
3,823 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 117)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 41.6[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.718[8]
สูง · อันดับที่ 107
สกุลเงินโบลิเบียโน (BOB)
เขตเวลาUTC−4 (BOT)
รูปแบบวันที่วว-ดด-ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+591
โดเมนบนสุด.bo

รัฐเอกราชโบลิเวียเป็นรัฐเดี่ยวที่แบ่งออกเป็นเก้าแคว้นตามรัฐธรรมนูญ มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายตั้งแต่ยอดเขาต่าง ๆ ของเทือกเขาแอนดีสทางภาคตะวันตก ไปจนถึงที่ลุ่มทางภาคตะวันออกซึ่งตั้งอยู่ภายในลุ่มน้ำแอมะซอน มีอาณาเขตจรดบราซิลทางทิศเหนือและทิศตะวันออก จรดปารากวัยทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดอาร์เจนตินาทางทิศใต้ จรดชิลีทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจรดเปรูทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นที่หนึ่งในสามของประเทศตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาแอนดีส ด้วยเนื้อที่ 1,098,581 ตารางกิโลเมตร (424,164 ตารางไมล์) โบลิเวียจึงเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในอเมริกาใต้ รองจากบราซิล, อาร์เจนตินา, เปรู และโคลอมเบีย (และเป็นหนึ่งในสองประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในทวีปอเมริการ่วมกับปารากวัย) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 27 ของโลก เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก รองจากคาซัคสถาน, มองโกเลีย, ชาด, ไนเจอร์, มาลี และเอธิโอเปีย

ประชากรของโบลิเวียซึ่งมีจำนวนประมาณ 11 ล้านคน[10] มีลักษณะเป็นพหุชาติพันธุ์ซึ่งรวมถึงชาวอเมรินเดียน, ชาวเมสติโซ, ชาวยุโรป, ชาวเอเชีย และชาวแอฟริกา ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและเป็นภาษาหลักของประเทศ แม้ว่าภาษาพื้นเมือง 36 ภาษาจะมีสถานะเป็นภาษาราชการเช่นกัน ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดในจำนวนนี้คือภาษากวารานี, ภาษาไอมารา และภาษาเกชัว

ในสมัยก่อนการเข้ามาของสเปน ภูมิภาคแอนดีสของโบลิเวียเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินคา ในขณะที่ที่ลุ่มทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าชนอิสระเผ่าต่าง ๆ ผู้พิชิตชาวสเปนที่เดินทางมาจากกุสโกและอาซุนซิออนเข้าควบคุมภูมิภาคนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในช่วงที่เป็นอาณานิคมสเปน โบลิเวียอยู่ในเขตอำนาจศาลอุทธรณ์หลวงชาร์กัส สเปนเสริมสร้างความมั่งคั่งของตนจากแร่เงินที่ขุดได้จากเหมืองในโบลิเวียส่วนหนึ่ง หลังจากมีการเรียกร้องเอกราชเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1809 ก็เกิดสงครามที่กินเวลานาน 16 ปีก่อนจะมีการสถาปนาสาธารณรัฐซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามซิมอน โบลิบาร์[11] ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โบลิเวียสูญเสียดินแดนรอบนอกหลายแห่งให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสูญเสียชายฝั่งทะเลให้แก่ชิลีใน ค.ศ. 1879 โบลิเวียยังรักษาเสถียรภาพทางการเมืองไว้ได้จนกระทั่ง ค.ศ. 1971 เมื่ออูโก บันเซร์ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐให้ก่อรัฐประหารที่แทนที่รัฐบาลสังคมนิยมของฆวน โฆเซ ตอร์เรส ด้วยเผด็จการทหารที่นำโดยบันเซร์ ตอร์เรสถูกสังหารในบัวโนสไอเรสโดยหน่วยสังหารของฝ่ายขวาใน ค.ศ. 1976 ระบอบบันเซร์ได้ปราบปรามฝ่ายค้านซึ่งเป็นฝ่ายซ้ายและฝ่ายสังคมนิยมรวมถึงผู้เห็นต่างในรูปแบบอื่น ๆ ส่งผลให้มีการทรมานและการสังหารพลเมืองโบลิเวียไปจำนวนหนึ่ง บันเซร์ถูกขับออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1978 และหลังจากนั้นก็กลับมาเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยระหว่าง ค.ศ. 1997–2001

โบลิเวียสมัยใหม่เป็นสมาชิกกฎบัตรของสหประชาชาติ, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด,[12] องค์การนานารัฐอเมริกา, องค์การสนธิสัญญาความร่วมมือแอมะซอน, ธนาคารกลางแห่งอเมริกาใต้, พันธมิตรโบลิบาร์เพื่อประชาชนอเมริกาของเรา และสหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ โบลิเวียยังคงเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในอเมริกาใต้ แต่ก็สามารถลดอัตราความยากจนและมีระบบเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในอเมริกาใต้ (ในแง่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ประเทศนี้เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในระดับสูง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ เกษตรกรรม, การป่าไม้, การประมง, การทำเหมืองแร่ และการผลิตสินค้าอย่างสิ่งทอ, เสื้อผ้า, โลหะกลั่น และปิโตรเลียมกลั่น โบลิเวียอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เงิน, ดีบุก, ลิเทียม, ทองแดง เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของโบลิเวีย

โบลิเวียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 แคว้น (departamento) ชื่อเมืองหลักอยู่ในวงเล็บ

  • เบนิ (ตรินิดัด)
  • ชูกิซากา (ซูเกร)
  • โกชาบัมบา (โกชาบัมบา)
  • ลาปาซ (ลาปาซ)
  • โอรูโร (โอรูโร)
  • ปันโด (โกบิฆา)
  • โปโตซี (โปโตซี)
  • ซานตากรุซ (ซานตากรุซ)
  • ตาริฆา (ตาริฆา)

แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นจังหวัด (provincia)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง