กลุ่มภาษาเคลต์

กลุ่มภาษาเคลต์ เป็นกลุ่มภาษาที่สืบมาจากภาษาเคลต์ดั้งเดิม ซึ่งเป็นสาขาของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน[2] คำว่า "เคลต์" เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ ค.ศ. 1707[3] โดยประดิษฐ์ขึ้นหลังจาก Paul-Yves Pezron เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนเคลต์ที่นักเขียนสมัยคลาสสิกบันทึกไว้ กับกลุ่มภาษาเวลส์กับเบรอตาญ[4]

กลุ่มภาษาเคลต์
ภูมิภาค:เคยกระจายทั่วยุโรปและอานาโตเลียตอนปลาย ปัจจุบันเหลือเพียงในคอร์นวอลล์, เวลส์, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์, เบรอตาญ, ไอล์ออฟแมน, รัฐชูบุต (Y Wladfa) และโนวาสโคเชีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
  • อิตาลี-เคลต์ (?)
    • กลุ่มภาษาเคลต์
ภาษาดั้งเดิม:เคลต์ดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
  • Celtiberian
  • (?) Gallaecian
  • Lepontic
  • Cisalpine Gaulish
  • Transalpine Gaulish
  • (?) Noric (ไม่จัด)
  • บริตัน
  • Goidelic
ISO 639-2 / 5:cel
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:50= (phylozone)
กลอตโตลอก:celt1248[1]
{{{mapalt}}}
ขอบเขตของผู้พูดภาษาเคลต์:
  พื้นที่วัฒนธรรมฮัลชตัท, ศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.
  การขยายตัวสูงสุด, ประมาณ 275 ปีก่อน ค.ศ.
  พื้นที่ลูซิตาเนีย; ความเกี่ยวโยงกับเคลต์ยังไม่เป็นที่กระจ่าง
  บริเวณที่เคยมีผู้พูดภาษากลุ่มเคลต์ในสมัยกลาง
  บริเวณที่มีผู้พูดภาษากลุ่มเคลต์ในปัจจุบัน

ในช่วงสหัสวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. มีผู้พูดภาษาเคลต์ทั่วยุโรปและอานาโตเลียตอนกลาง ปัจจุบันจำกัดเพียงชายขอบยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือและในชุมชนพลัดถิ่นส่วนหนึ่ง มีภาษาที่ยังคงมีผู้พูด 6 ภาษา โดย 4 ภาษาที่มีผู้พูดอย่างต่อเนื่องได้แก่ภาษาเบรอตาญ, ภาษาไอริช, ภาษาเกลิกสกอต และภาษาเวลส์ กับ 2 ภาษาฟื้นฟูคือภาษาคอร์นวอลล์และภาษาแมน ภาษาเวลส์เป็นภาษาราชการในประเทศเวลส์ และภาษาไอริชเป็นภาษาราชการในประเทศไอร์แลนด์กับสหภาพยุโรป ภาษาเวลส์เป็นภาษาเคลต์เดียวที่ยูเนสโกไม่จัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญ ภาษาคอร์นวอลล์และแมนสูญแล้วในสมัยใหม่ โดยยังคงมีความพยายามฟื้นฟูภาษาเหล่านี้จนมีผู้พูดภาษาที่สองร้อยกว่าคน

ภาษาที่มีผู้พูด

เอทโนล็อกจัดกลุ่มภาษาเคลต์ที่มีผู้พูดอยู่ 6 ภาษา ในจำนวนนี้มี 4 ภาษาที่ยังคงมีผู้พูดภาษาแม่อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่: กลุ่มภาษากอยเดลิก (ภาษาไอริชและภาษาเกลิกสกอต ทั้งสองภาษาสืบจากภาษาไอริชสมัยกลาง) และกลุ่มภาษาบริตัน (ภาษาเวลส์และภาษาเบรอตาญ สืบจากภาษาบริตันทั่วไป)[5] ส่วนอีกสองภาษา คือ ภาษาคอร์นวอลล์ (บริตัน) และภาษาแมน (กอยเดลิก) สูญหายไปในสมัยใหม่[6][7][8] โดยมีบันทึกผู้พูดภาษาแม่คนสุดท้ายใน ค.ศ. 1777 และ 1974 ตามลำดับ ขบวนการฟื้นฟูภาษาในคริสต์ทศวรรษ 2000 นำไปสู่การกลับมาของผู้พูดภาษาแม่ทั้งสองภาษา ภายหลังผู้ใหญ่และเด็กใช้งานภาษานี้[9][10] ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีผู้พูดภาษากลุ่มเคลต์เป็ยภาษาแม่เกือบ 1 ล้านคน[11] จากนั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านคนใน ค.ศ. 2010[12]

ประชากรศาสตร์

ภาษาชื่อในภาษาแม่กลุ่มจำนวนผู้พูดภาษาแม่จำนวนผุ้พูดอย่างเชี่ยวชาญพื้นที่ต้นตอ
(ยังคงมีผู้พูด)
ผู้วางระเบียบจำนวนผู้พูดในเมืองใหญ่โดยประมาณ
ภาษาไอริชGaeilge / Gaedhilge /

GaedhlageGaeildhiligeGaelainn / Gaeilig / Gaeilic

กอยเดลิก40,000–80,000[13][14][15][16]
ในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ มี 73,803 คนที่ใช้ภาษาไอริชในชีวิตประจำวัน[17]
ผู้พูดทั้งหมด: 1,887,437
สาธารณรัฐไอร์แลนด์: 1,774,437[18]
สหราชอาณาจักร: 95,000
สหรัฐ: 18,000
Gaeltacht แห่งไอร์แลนด์Foras na Gaeilgeดับลิน: 184,140
กอลเวย์: 37,614
คอร์ก: 57,318[19]
เบลฟาสต์: 14,086[20]
ภาษาเวลส์Cymraeg / Y Gymraegบริตัน562,000 (19.0% ของประชากรเวลส์) อ้างว่าตน "พูดภาษาเวลส์ได้" (2011)[21][22]ผู้พูดทั้งหมด: ≈ 947,700 (2011)
ประเทศเวลส์: 788,000 คน (26.7% ของประชากรทั้งหมด)[21][22]
ประเทศอังกฤษ: 150,000[23]
รัฐชูบุต ประเทศอาร์เจนตินา: 5,000[24]
สหรัฐ: 2,500[25]
ประเทศแคนาดา: 2,200[26]
ประเทศเวลส์Welsh Language Commissioner
รัฐบาลเวลส์
(อดีตคือ Welsh Language Board, Bwrdd yr Iaith Gymraeg)
คาร์ดิฟฟ์: 54,504
สวอนซี: 45,085
นิวพอร์ต: 18,490[27]
แบงกอร์: 7,190
ภาษาเบรอตาญBrezhonegบริตัน206,000356,000[28]แคว้นเบรอตาญOfis Publik ar Brezhonegแรน: 7,000
แบร็สต์: 40,000
น็องต์: 4,000[29]
ภาษาเกลิกสกอตGàidhligกอยเดลิก57,375 (2011)[30]สกอตแลนด์: 87,056 (2011)[30]
รัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา: 1,275 (2011)[31]
ประเทศสกอตแลนด์Bòrd na Gàidhligกลาสโกว์: 5,726
เอดินบะระ: 3,220[32]
แอเบอร์ดีน: 1,397[33]
ภาษาคอร์นวอลล์Kernowek / Kernewekบริตัน563[34][35]2,000[36]คอร์นวอลล์Akademi Kernewek
Cornish Language Partnership (Keskowethyans an Taves Kernewek)
ทรัวโร: 118[37]
ภาษาแมนGaelg / Gailckกอยเดลิก100+,[9][38] รวมเด็กที่เป็นผู้พูดภาษาแม่ใหม่จำนวนหนึ่ง[39]1,823[40]ไอล์ออฟแมนCoonceil ny Gaelgeyดักลาส: 507[41]

การจัดจำแนก

ภาษาเคลต์ดั้งเดิม แบ่งย่อยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มภาษากอลและกลุ่มที่ใกล้เคียงคือ เลปอนติก นอริก และกาลาเทีย ภาษาเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดกระจายเป็นบริเวณกว้างจากฝรั่งเศสถึงตุรกีและจากเบลเยียมถึงอิตาลีภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นภาษาตาย
  • กลุ่มภาษาเคลติเบเรียน เคยใช้พูดในคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกสเหนือ กาลิเซีย อัสตูเรียส กันตาเบรีย อารากอน และเลออนในสเปน ภาษาลูซิตาเนียอาจจะเคยเป็นภาษาในกลุ่มเคลต์นี้ ส่วนใหญ่เป็นภาษาตาย
  • กลุ่มภาษากอยเดิล รวมทั้งภาษาไอริช ภาษาสกอต แกลิก และภาษาแมน
  • กลุ่มภาษาบริตันหรือบริติช ได้แก่ ภาษาเวลส์ ภาษาเบรอตาญ ภาษาคอร์นวอลล์ ภาษาคัมบริด และอาจจะรวมภาษาปิกติช ซึ่งคาดว่าจะเป็นภาษาพี่น้องมากกว่าภาษาลูกหลาน

นักวิชาการบางคนจำแนกภาษากลุ่มเคลต์บนแผ่นดินและภาษาเคลต์ในหมู่เกาะโดยดูที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มภาษากอยเดิลกับกลุ่มภาษาบริตัน ซึ่งแสดงถึงการแยกตัวออกของภาษากลุ่มเคลต์บนแผ่นดินใหญ่

ภาษาเบรอตาญจัดเป็นภาษาในกลุ่มบริตันไม่ใช่ภาษากลุ่มกอลแม้ว่าอาจจะเพิ่มเข้ามาภายหลัง เมื่อชาวแองโกล-แซกซันเคลื่อนย้ายเข้าสู่เกาะอังกฤษ มีชาวบริตันหรือเวลส์ที่อาจจะมาจากภาษากลุ่มเจอร์แมนิกที่แปลว่าคนต่างชาติได้ข้ามช่องแคบอังกฤษเข้ามาอยู่ในเบรอตาญและได้นำภาษากลุ่มบริตันมาด้วย ภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาเบรอตาญ ซึ่งยังเข้าใจกันกับภาษาเวลส์สมัยใหม่และภาษาคอร์นวอลล์

การออกเสียง

คำว่า Celtic ออกเสียงว่าเซลติกหรือเคลติกแต่นิยมใช้เคลติกมากกว่า ในเอกสารเก่าบางชิ้นสะกดว่า Keltic หรือ Celtic

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Ball, Martin J. & James Fife (ed.) (1993). The Celtic Languages. London: Routledge. ISBN 0-415-01035-7.
  • Borsley, Robert D. & Ian Roberts (ed.) (1996). The Syntax of the Celtic Languages: A Comparative Perspective. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521481600.
  • Cowgill, Warren (1975). "The origins of the Insular Celtic conjunct and absolute verbal endings". ใน H. Rix (บ.ก.). Flexion und Wortbildung: Akten der V. Fachtagung der Indogermanischen Gesellschaft, Regensburg, 9.–14. September 1973. Wiesbaden: Reichert. pp. 40–70. ISBN 3-920153-40-5.
  • Celtic Linguistics, 1700–1850 (2000). London; New York: Routledge. 8 vols comprising 15 texts originally published between 1706 and 1844.
  • Forster, Peter; Toth, Alfred (July 2003). "Toward a phylogenetic chronology of ancient Gaulish, Celtic, and Indo-European". Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 100 (15): 9079–84. Bibcode:2003PNAS..100.9079F. doi:10.1073/pnas.1331158100. PMC 166441. PMID 12837934.
  • Gray, Russell D.; Atkinson, Quintin D. (November 2003). "Language-tree divergence times support the Anatolian theory of Indo-European origin". Nature. 426 (6965): 435–39. Bibcode:2003Natur.426..435G. doi:10.1038/nature02029. PMID 14647380. S2CID 42340.
  • Hindley, Reg (1990). The Death of the Irish Language: A Qualified Obituary. Routledge. ISBN 0-415-04339-5.
  • Lewis, Henry & Holger Pedersen (1989). A Concise Comparative Celtic Grammar. Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht. ISBN 3-525-26102-0.
  • McCone, Kim (1991). "The PIE stops and syllabic nasals in Celtic". Studia Celtica Japonica. 4: 37–69.
  • McCone, Kim (1992). "Relative Chronologie: Keltisch". ใน R. Beekes; A. Lubotsky; J. Weitenberg (บ.ก.). Rekonstruktion und relative Chronologie: Akten Der VIII. Fachtagung Der Indogermanischen Gesellschaft, Leiden, 31 August – 4 September 1987. Institut für Sprachwissenschaft der Universität Innsbruck. pp. 12–39. ISBN 3-85124-613-6.
  • McCone, K. (1996). Towards a Relative Chronology of Ancient and Medieval Celtic Sound Change. Maynooth: Department of Old and Middle Irish, St. Patrick's College. ISBN 0-901519-40-5.
  • Russell, Paul (1995). An Introduction to the Celtic Languages. Longman. ISBN 0582100828.
  • Schmidt, K.H. (1988). "On the reconstruction of Proto-Celtic". ใน G. W. MacLennan (บ.ก.). Proceedings of the First North American Congress of Celtic Studies, Ottawa 1986. Ottawa: Chair of Celtic Studies. pp. 231–48. ISBN 0-09-693260-0.
  • Schrijver, Peter (1995). Studies in British Celtic historical phonology. Amsterdam: Rodopi. ISBN 90-5183-820-4.
  • Schumacher, Stefan; Schulze-Thulin, Britta; aan de Wiel, Caroline (2004). Die keltischen Primärverben. Ein vergleichendes, etymologisches und morphologisches Lexikon (ภาษาเยอรมัน). Innsbruck: Institut für Sprachen und Kulturen der Universität Innsbruck. ISBN 3-85124-692-6.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง