เยเรวาน

เยเรวาน (อังกฤษ: Yerevan; อาร์มีเนีย: Երևան[c] [jɛɾɛˈvɑn] ( ฟังเสียง)) บางครั้งสะกดเป็น เอเรวาน (Erevan)[d] เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศอาร์มีเนีย และยังเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อาศัยต่อเนื่องนานที่สุดในโลก[24] ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮรัซดัน (Hrazdan River) เยเรวานเป็นศูนย์กลางการบริหาร วัฒนธรรม และอุตสาหกรรมของประเทศ ถือเป็นเอกนคร โดยเป็นเมืองหลวงตั้งแต่ ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่ 14 ในประวัติศาสตร์อาร์มีเนียและเมืองหลวงที่ 7 ที่ตั้งอยู่ในและรอบที่ราบอารารัต นครนี้ยังเป็นเมืองหลักของมุขมณฑลองค์สันตะปาปาอารารัต (Araratian Pontifical Diocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย และเป็นหนึ่งในมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[25]

เยเรวาน

Երևան
ตึกระฟ้าเยเรวาน
ตึกระฟ้าเยเรวานกับเขาอารารัต
Karen Demirchayn Complex
ฮามาลีร์
โรงละครโอเปร่าเยเรวาน
โรงละครโอเปร่า
The Yerevan Cascade
แคสเคด
อาคารกระทรวงการต่างประเทศอาร์มีเนีย
กระทรวงการต่างประเทศอาร์มีเนีย
รีพับลิกสแควร์ยามค่ำคืน
รีพับลิกสแควร์และทำเนียบรัฐบาล
ธงของเยเรวาน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเยเรวาน
ตรา
สมญา: 
"นครสีชมพู",[4][a] "มารดานคร"[7][8][b]
เยเรวานตั้งอยู่ในประเทศอาร์มีเนีย
เยเรวาน
เยเรวาน
ที่ตั้งของเยเรวานในประเทศอาร์มีเนีย
เยเรวานตั้งอยู่ในเทือกเขาคอเคซัส
เยเรวาน
เยเรวาน
เยเรวาน (เทือกเขาคอเคซัส)
เยเรวานตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
เยเรวาน
เยเรวาน
เยเรวาน (ทวีปเอเชีย)
เยเรวานตั้งอยู่ในยุโรป
เยเรวาน
เยเรวาน
เยเรวาน (ยุโรป)
พิกัด: 40°10′53″N 44°30′52″E / 40.18139°N 44.51444°E / 40.18139; 44.51444
ประเทศธงของประเทศอาร์มีเนีย อาร์มีเนีย
ตั้งถิ่นฐาน (เชนกาวิต)[11]ป. 3300 ปีก่อน ค.ศ.[12]
สถาปนาในฐานะเอเรบูนีโดยอาร์กิชตีที่ 1 แห่งอูราร์ตู782 ปีก่อน ค.ศ.
สถานะนครโดยจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1879[13][14]
เมืองหลวงประเทศ19 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 (โดยพฤตนัย)[15][16]
เขต12
การปกครอง
 • ประเภทนายกเทศมนตรี–สภา
 • องค์กรสภานคร
 • นายกเทศมนตรีติกรัน อาวินยัน
พื้นที่
 • เมืองหลวง223 ตร.กม. (86 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด1,390 เมตร (4,560 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด865 เมตร (2,838 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน 2011)[17]
 • เมืองหลวง1,060,138 คน
 • ประมาณ 
(2022[18])
1,092,800 คน
 • ความหนาแน่น4,824 คน/ตร.กม. (12,490 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล(ประมาณ ค.ศ. 2001)[19]1,420,000 คน
เขตเวลาUTC+04:00 (เวลาอาร์มีเนีย)
รหัสพื้นที่+374 10
ท่าอากาศยานนานาชาติท่าอากาศยานนานาชาติซวาร์ตนอตส์
เอชดีไอ (2021)0.794[20]
สูง · ที่ 1
เว็บไซต์www.yerevan.am

ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของเมืองนี้ย้อนไปถึงในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการตั้งป้อมอูราร์เตียนแห่งเมืองเอเรบูนีเมื่อ 782 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยพระเจ้าอาร์กิชตีที่ 1 แห่งอูราร์ตูที่ปลายตะวันตกสุดของที่ราบอารารัต[26] เอเรบูนี "ได้รับการออกแบบให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่สมบูรณ์"[27] จากนั้นในช่วงอาณาจักรอาร์มีเนียโบราณตอนปลาย มีการจัดตั้งเมืองหลวงใหม่และเยเรวานจึงลดความสำคัญลง ตัวนครสูญเสียประชากรส่วนใหญ่ในช่วงเกรตซูร์กุนใน ค.ศ. 1603–05 เมื่อจักรวรรดิซาฟาริดบังคับถ่ายโอนประชากรอาร์มีเนียไปยังอิหร่านแสนกว่าคน ต่อมาใน ค.ศ. 1679 ตัวนครส่วนใหญ่ถูกทำลายจากแผ่นดินไหว แล้วมีการสร้างใหม่ในขณาดที่เล็กกว่าเดิม ต่อมาใน ค.ศ. 1828 เยเรวานถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งนำไปสู่การส่งคืนชาวอาร์มีเนียที่บรรพบุรุษถูกบังคับย้ายออกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยเรวานกลายเป็นเมืองหลวของสาธารณรัฐอาร์มีเนียที่หนึ่งหลังผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียพันกว่าคนในจักรวรรดิออตโตมัน เดินทางเข้ายังบริเวณนี้[28] ตัวนครได้รับการขยายอย่างรวดเร็จในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่อาร์มีเนียเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

เยเรวานผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการเติบโตของเศรษฐกิจอาร์มีเนีย ทำให้มีการก่อสร้างทั่วนครตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 และมีร้านค้าปลีก เช่น ภัตตาคาร ร้านค้า และร้านกาแฟริมถนน ซึ่งหาได้ยากในสมัยโซเวียต เพิ่มจำนวนขึ้นมาก ข้อมูลเมื่อ 2011 ประชากรในเยเรวานมี 1,060,138 คน ซึ่งเทียบเท่าประชากรอาร์มีเนียทั้งหมดมากกว่า 35% ตามข้อมูลจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2022 ประชากรในปัจจุบันมี 1,092,800 คน[18] ทางยูเนสโกจัดให้เยเรวานเป็น World Book Capital ประจำปี 2012[29] เยเรวานก็เป็นเมืองสมาชิกใน Eurocities[30]

ศัพทมูลวิทยา

"สูติบัตร" ของเยเรวานที่ป้อมเอเรบูนี เป็นจารึกอักษรรูปลิ่มที่พระเจ้าอาร์กิชตีที่ 1 แห่งอูราร์ตู สลักเกี่ยวกับการสถาปนานครใน 782 ปีก่อน ค.ศ. ไว้บนแผ่นหินบะซอลต์
"YEREVAN" (ԵՐԵՒԱՆ) ในจารึกจากKecharis สืบอายุได้ถึง ค.ศ. 1223[31]

ไม่มีใครทราบต้นกำเนิดของชื่ออย่างชัดเจน ทฤษฎีหนึ่งระบุว่าต้นกำเนิดของชื่อเยเรวานมาจากเยร์วานด์ (โอรอนเตส) ที่ 4 กษัตริย์อาร์มีเนียที่เป็นผู้ปกครองอาร์มีเนียองค์สุดท้ายจากราชวงศ์โอรอนติด และเป็นผู้สถาปนานครเยร์วานดาชาต[32] อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าชื่อนครมาจากป้อมทหารอูราร์ตูแห่งเอเรบูนี ซึ่งจัดตั้งบนพื้นที่เยเรวานในปัจจุบันเมื่อ 782 ปีก่อน ค.ศ. โดยอาร์กิชตีที่ 1[32] "Erebuni" อาจมาจากศัพท์ภาษายูราร์เทียที่แปลว่า “เอา” หรือ “จับ” หมายความว่า ชื่อของป้อมอาจตีความได้เป็น "การจับกุม" "การพิชิต" หรือ "ชัยชนะ"[33] เมื่อองค์ประกอบของภาษายูราร์เทียผสมเข้ากับภาษาอาร์มีเนีย ชื่อนั้นจึงพัฒนาไปเป็น เยเรวาน (Erebuni = Erevani = Erevan = Yerevan)

ผู้บันทึกเหตุการณ์ชาวอาร์มีเนียที่นับถือศาสนาคริสต์ยุคแรกเชื่อมโยงต้นตอชื่อของนครเข้ากับตำนานเรือโนอาห์ หลังตัวเรือจอดบนเขาอารารัตและระดับน้ำได้ลดลงแล้ว กล่าวกันว่าโนอาห์อุทานว่า "Yerevats!" ("มันปรากฏแล้ว!" ในภาษาอาร์มีเนีย) ขณะหาทิศทางของเยเรวาน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเยเรวาน[32]

ในสมัยกลางตอนปลายถึงสมัยใหม่ตอนต้น เมื่อเยเรวานอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนเติร์กและเปอร์เซียในภายหลัง นครนี้เป็นที่รู้จักในภาษาเปอร์เซียว่า อีแรวอน (เปอร์เซีย: ایروان)[34][35] หลังอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 ตัวนครมีชื่อทางการว่า เอรีวัน (รัสเซีย: Эривань) ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเยเรวาน (Ереван) ใน ค.ศ. 1936[36]

ประวัติ

ภูมิประเทศ

เยเรวานตั้งอยู่ในความสูงเฉลี่ย 990 เมตร (3,248.03 ฟุต) โดยพื้นที่ต่ำสุดอยู่ที่ 865 เมตร (2,837.93 ฟุต) และพื้นที่สูงสุดอยู่ที่ 1,390 เมตร (4,560.37 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ[37] นครนี้เป็นหนึ่งในนครที่สูงที่สุด 50 อันดับแรกของโลกที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน[38]

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเยเรวาน (ค.ศ. 1991–2020, สูงสุด ค.ศ. 1885–ปัจจุบัน)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)19.5
(67.1)
19.6
(67.3)
27.6
(81.7)
35.0
(95)
36.1
(97)
41.1
(106)
43.7
(110.7)
42.0
(107.6)
40.0
(104)
34.1
(93.4)
26.0
(78.8)
20.0
(68)
43.7
(110.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)1.7
(35.1)
6.3
(43.3)
13.7
(56.7)
19.8
(67.6)
25.1
(77.2)
30.9
(87.6)
34.5
(94.1)
34.4
(93.9)
29.2
(84.6)
21.6
(70.9)
12.8
(55)
4.2
(39.6)
19.5
(67.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)-3.5
(25.7)
0.0
(32)
7.0
(44.6)
12.9
(55.2)
17.7
(63.9)
23.1
(73.6)
26.8
(80.2)
26.7
(80.1)
21.4
(70.5)
14.0
(57.2)
5.8
(42.4)
-0.8
(30.6)
12.6
(54.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)-7.8
(18)
-5.4
(22.3)
0.9
(33.6)
6.4
(43.5)
10.8
(51.4)
15.1
(59.2)
19.1
(66.4)
18.9
(66)
13.2
(55.8)
7.1
(44.8)
0.1
(32.2)
-4.9
(23.2)
6.1
(43)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)−27.6
(-17.7)
−26.0
(-15)
−19.1
(-2.4)
−10.2
(13.6)
−0.6
(30.9)
3.7
(38.7)
7.5
(45.5)
7.9
(46.2)
0.1
(32.2)
−6.5
(20.3)
−14.4
(6.1)
−28.2
(-18.8)
−28.2
(−18.8)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)21
(0.83)
21
(0.83)
60
(2.36)
56
(2.2)
47
(1.85)
24
(0.94)
17
(0.67)
10
(0.39)
10
(0.39)
51
(2.01)
25
(0.98)
21
(0.83)
363
(14.29)
ความชื้นร้อยละ75.067.658.355.554.646.042.941.145.757.868.677.057.2
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย2481212854487478
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย7720.2000000.11522
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด104.5136.8186.5206.5267.1326.6353.9333.7291.5217.0159.991.02,675.0
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[39]
แหล่งที่มา 2: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ดวงอาทิตย์, ความชื้น 1991–2020)[40]

การเมืองและรัฐบาล

เขตบริหาร

เขตทั้งสิบสองของเยเรวาน

เยเรวานได้รับการแบ่งออกเป็น 12 "เขตบริหาร" (վարչական շրջան, varčakan šrĵan)[41] ที่มีหัวหน้าที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นของตนเอง ทั้ง 12 เขตของเยเรวานมีพื้นที่รวม 223 ตารางกิโลเมตร (86 ตารางไมล์)[42][43][44]

เขตภาษาอาร์มีเนียประชากร
(สำมะโน 2011)
ประชากร
(สำมะโน 2016)
พื้นที่ (ตร.กม.)
อาจัปนยักԱջափնյակ108,282109,10025.82
อารับกีร์Արաբկիր117,704115,80013.29
อาวันԱվան53,23153,1007.26
ดัฟตาเชนԴավթաշեն42,38042,5006.47
เอเรบูนีԷրեբունի123,092126,50047.49
คานาเกร์-เซย์ตุนՔանաքեր-Զեյթուն73,88674,1007.73
เคนตรอนԿենտրոն125,453125,70013.35
มาลาเตีย-เซบัสเตียՄալաթիա-Սեբաստիա132,900135,90025.16
นอร์ก-มารัชՆորք-Մարաշ12,04911,8004.76
นอร์นอร์กՆոր Նորք126,065130,30014.11
นูบาราเชนՆուբարաշեն9,5619,80017.24
เชนกาวิตՇենգավիթ135,535139,10040.6

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ในอดีตที่เยเรวาน
(ไม่รวมป้อมเอริวาน)[45]
ปีอาร์มีเนียอาเซอร์ไบจานaรัสเซียอื่น ๆรวม
ป. 1650[45]ส่วนใหญ่
ป. 1725[46]ส่วนใหญ่20,000
1830[47]4,13235.7%7,33164.3%1951.7%11,463
1831[48]4,48437.6%7,33161.5%1050.9%11,920
1873[49]5,90050.1%5,80048.7%1501.3%240.2%11,938
1886[48]7,14248.5%7,22849.0%3682.5%14,738
1897[50]12,52343.2%12,35942.6%2,7659.5%1,3594.7%29,006
1908[48]30,670
1914[51]15,53152.9%11,49639.1%1,6285.5%7112.4%29,366[e]
1916[52]37,22372.6%12,55724.5%1,0592.1%4470.9%51,286
1919[48]48,000
1922[48]40,39686.6%5,12411.0%1,1222.4%46,642
1926[53]59,83889.2%5,2167.8%1,4012.1%6661%67,121
1931[48]80,32790.4%5,6206.3%2,9573.3%88,904
1939[53]174,48487.1%6,5693.3%15,0437.5%4,3002.1%200,396
1959[53]473,74293.0%3,4130.7%22,5724.4%9,6131.9%509,340
1970[54]738,04595.2%2,7210.4%21,8022.8%12,4601.6%775,028
1979[53]974,12695.8%2,3410.2%26,1412.6%14,6811.4%1,017,289
1989[55][56]1,100,37296.5%8970.0%22,2162.0%17,5071.5%1,201,539
2001[57]1,088,38998.6%6,6840.61%8,4150.76%1,103,488
2011[58]1,048,94098.9%4,9400.5%6,2580.6%1,060,138
^a ก่อน ค.ศ. 1918 เรียกเป็น ชาวตาตาร์

หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มีประชากรอพยพออกจากอาร์มีเนียหลายพันคนเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เดินทางไปยังรัสเซีย ทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป ประชากรในเยเรวานลดลงจาก 1,250,000 คนใน ค.ศ. 1989[37] ไปเป็น 1,103,488 คนใน ค.ศ. 2001[59] และลดถึง 1,091,235 คนใน ค.ศ. 2003[60] อย่างไรก็ตาม นับจากนั้นประชากรในเยเรวานจึงเริ่มเพิ่มขึ้น โดยใน ค.ศ. 2007 มีประชากรในเยเรวานถึง 1,107,800 คน

กลุ่มชาติพันธุ์

อาสนวิหารรัสเซียนักบุญนิโคไล ถูกทำลายใน ค.ศ. 1931

ชาวอาร์มีเนียเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้าตั้งถิ่นฐานในเยเรวานและยังคงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักในบริเวณนี้จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 15[45][46][61][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ประชากรป้อมเอรีวันที่สร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1580 ส่วนใหญ่เป็นทหารมุสลิมที่มีจำนวนประมาณ 2 ถึง 3 พันนาย[45] Jean-Baptiste Tavernier นักเดินทางชาวฝรั่งเศส เดินทางเยือนเยเรวานถึง 6 ครั้งในช่วง ค.ศ. 1631 ถึง 1668 ระบุว่านครนี้มีชาวอาร์มีเนียอาศัยอยู่โดยเฉพาะ[62] ถึงแม้ว่ามีการถ่ายโอนประชากรอาร์มีเนียในนครจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 17[63] ตัวนครยังคงมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนียในช่วงสงครามออตโตมัน–โฮตัก (ค.ศ. 1722–1727)[46] ประชากรในภูมิภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากชุดสงครามระหว่างจักรวรรดิออตโตมัน อิหร่าน และรัสเซีย ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เยเรวานมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม โดยหลักเป็นชาวอาร์มีเนียและประชากร "ตาตาร์คอเคซัส"[64][65] เอช. เอฟ. บี. ลินช์ นักเดินทาง รายงานว่า ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 ตัวนครมีชาวอาร์มีเนียประมาณ 50% และมุสลิม 50% (อาเซอร์ไบจานและเปอร์เซีย)[66]

หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย ผู้ลี้ภัยหลายคนจากบริเวณที่ชาวอาร์มีเนียเรียกว่าอาร์มีเนียตะวันตก (ปัจุจบันคือประเทศตุรกี ในเวลานั้นคือจักรวรรดิออตโตมัน) อพยพไปยังอาร์มีเนียตะวันออก โดยใน ค.ศ. 1919 ผู้อพยพชาวอาร์มีเนียประมาณ 75,000 อพยพจากจักรวรรดิออตโตมันไปยังเยเรวาน ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาค Vaspurakan (นครวานและพื้นที่โดยรอบ) ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่และโรคอื่น ๆ[67]

ชาวอาเซอร์ไบจานที่เป็นประชากรในเยเรวานก่อนหน้าการปฏิวัติเดือนตุลาคมถึง 43% มีจำนวนลดลงจนเหลือ 0.7% ใน ค.ศ. 1959 และลดลงอีกจนถึง 0.1% ในความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัคช่วง ค.ศ. 1989[68]

นอกจากนี้ ยังมีประชากรอินเดียในอาร์มีเนีย โดยมีบันทึกพลเมืองในประเทศมากกว่า 22,000 คน ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเยเรวาน ซึ่งมักดำเนินธุรกิจ เปิดร้านอาหารอินเดีย และศึกษาในมหาวิทยาลัยเยเรวาน[69][70]

ศาสนา

ความสัมพันธ์นานาชาติ

เมืองพี่น้อง

มือมิตรภาพจากคาร์ราราไปยังเยเรวาน

เยเรวานเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[71]

เมืองคู่ค้า

เยเรวานเป็นเมืองคู่ค้ากับเมืองดังนี้:[73]

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง