เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (โปแลนด์: Rzeczpospolita Obojga Narodów; อังกฤษ: Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie; Kingdom of Poland and the Grand Duchy of Lithuania) เป็นสองรัฐสมาพันธรัฐ[11] บางครั้งเรียกเป็นสหพันธรัฐ[12] ของโปแลนด์และลิทัวเนียที่มีพระมหากษัตริย์ โดยดำรงตำแหน่งทั้งพระมหากษัตริย์โปแลนด์และแกรนดฺดยุกแห่งลิทัวเนีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ใหญ่ที่สุด[13][14] และมีประชากรมากที่สุดในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ในช่วงที่มีพื้นที่มากที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เครือจักรภพครอบคลุมพื้นที่เกือบ 1,000,000 km2 (400,000 sq mi)[15][16] และใน ค.ศ. 1618 มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์เกือบ 12 ล้านคน[17][18] โดยมีภาษาโปแลนด์กับภาษาละตินเป็นภาษาราชการ

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

1569–1795[1]
ธงชาติเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
ธงราชวงศ์
(ประมาณ ค.ศ. 1605–1668)[a]
ของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
  • "Si Deus nobiscum quis contra nos"
    "ถ้าพระเจ้าทรงอยู่กับเรา แล้วใครเล่าจะเป็นศัตรู"
  • "Pro Fide, Lege et Rege"[note 1]
    "เพื่อศรัทธา กฎหมาย และกษัตริย์"
เพลงชาติGaude Mater Polonia
เขตแดนเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (เขียว) กับรัฐบริวาร (เขียวอ่อน) ในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 1619
เขตแดนเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (เขียว) กับรัฐบริวาร (เขียวอ่อน) ในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 1619
เมืองหลวง
โดยนิตินัย:

โดยพฤตินัย:

  • กรากุฟ[2] (1569–1596)
  • วอร์ซอ[2][b] (1596–1795)
ภาษาทั่วไปทางการ:
โปแลนด์และละติน
ภูมิภาค:
ศาสนา
ทางการ:
โรมันคาทอลิก[3]
การปกครอง
พระมหากษัตริย์ / แกรนด์ดยุก 
• 1569–1572 (องค์แรก)
ซีกิสมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส
• 1764–1795 (องค์สุดท้าย)
สตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส
สภานิติบัญญัติแซย์ม
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น
• จัดตั้งสหภาพ
1 กรกฎาคม 1569
• การแบ่งครั้งที่ 1
5 สิงหาคม ค.ศ. 1772
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791
23 มกราคม ค.ศ. 1793[1]
• การแบ่งครั้งที่ 3
24 ตุลาคม 1795[1]
พื้นที่
1582[8]815,000 ตารางกิโลเมตร (315,000 ตารางไมล์)
1618[9][10]1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1582[8]
~8,000,000
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรโปแลนด์ (ค.ศ. 1385-1569)
แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรีย
จักรวรรดิรัสเซีย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย

เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1569 โดยสหภาพลูบลิน (Union of Lublin) ซึ่งรวมราชอาณาจักรโปแลนด์เข้ากับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียมาจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 เครือจักรภพมีได้ครอบคลุมเพียงดินแดนโปแลนด์และลิทัวเนียเท่านั้น แต่ยังรวมดินแดนทั้งหมดของเบลารุสและลัตเวีย ดินแดนส่วนใหญ่ของยูเครนและเอสโตเนีย รวมถึงบางส่วนของประเทศรัสเซียปัจจุบัน (แคว้นสโมเลนสค์และคาลินินกราด)

เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งจากอาณาจักรสองแห่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1386 ระบบการปกครองที่มักจะเรียกกันว่า “ประชาธิปไตยของชนชั้นสูง” (Noble's democracy) หรือ “เสรีภาพทอง” ซึ่งเป็นการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครที่ปกครองตามกฎหมายและสภานิติบัญญัติเซย์ม (Sejm) ที่ควบคุมโดยขุนนาง (szlachta) ระบบที่ว่านี้เป็นรากฐานของระบบประชาธิปไตยอย่างกว้าง ๆ ในสมัยใหม่[19] และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ ค.ศ. 1791[20][21][22] รวมทั้งระบบสหพันธรัฐ.[23] แม้ว่ารัฐทั้งสองแต่เดิมมีฐานะเท่ากันอย่างเป็นทางการ แต่ตามความเป็นจริงโปแลนด์มักจะมีอำนาจเหนือกว่า[24]

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และเสรีภาพในการนับถือศาสนาสูง ซึ่งยืนยันจากพระราชบัญญัติสมาพันธรัฐวอร์ซอใน ค.ศ. 1573[25][26][b] แต่เสรีภาพจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมัย[27] โดยรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1791 ยอมรับให้นิกายโรมันคาทอลิกเป็น "ศาสนาหลัก" แต่ยังคงให้เสรีภาพทางศาสนา ซึ่งต่างจากสมาพันธรัฐวอร์ซอ[22]

หลังผ่านยุครุ่งเรืองมาหลายทศวรรษ[28][29][30] เครือจักรภพจึงเข้าสู่ยุคการเสื่อมถอยทางการเมือง[22][31] การทหาร และเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ[32] ความอ่อนแอที่เติบโตขึ้นนำไปสู่การแบ่งเครือจักรภพให้แก่เพื่อนบ้าน (ออสเตรีย, ปรัสเซีย และรัสเซีย) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนการล่มสลายไม่นาน เครือจักรภพได้ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่และจัดตั้งรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการประมวลฉบับแรกในประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ และอันที่สองในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ ตามหลังรัฐธรรมนูญสหรัฐ[33][34][35][36][37]

ชื่อ

ชื่อทางการของเครือจักรภพคือราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (โปแลนด์: Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie; ลิทัวเนีย: Lenkijos Karalystė ir Lietuvos Didžioji Kunigaikštystė; ละติน: Regnum Poloniae Magnusque Ducatus Lithuaniae) โดยชื่อภาษาละตินมักใช้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศและการทูต[38]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และภายหลังมีอีกชื่อว่า 'เครือจักรภพสาธารณรัฐอันสงบสุขยิ่งโปแลนด์' (โปแลนด์: Najjaśniejsza Rzeczpospolita Polska; ละติน: Serenissima Res Publica Poloniae)[39] เครือจักรภพราชอาณาจักรโปแลนด์[40] หรือเครือจักรภพโปแลนด์[41]

ชาวยุโรปตะวันตกมักย่อชื่อเป็น 'โปแลนด์' และในข้อมูลส่วนใหญ่ใรสมัยก่อนและสมัยใหม่มักเรียกเป็นราชอาณาจักรโปแลนด์ หรือแค่โปแลนด์[38][42][43]

ชื่ออย่างไม่เป็นทางการได้แก่ 'สาธารณรัฐชนชั้นขุนนาง' (โปแลนด์: Rzeczpospolita szlachecka) และ 'เครือจักรภพแห่งแรก' (โปแลนด์: I Rzeczpospolita) ชื่อหลังมักใช้ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ เพื่อแยกจากสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

สิ่งสืบทอด

ดัชชีวอร์ซอ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1807 มีรากฐานมาจากเครือจักรภพ ขบวนการการปฏิรูปเกิดขึ้นระหว่าง “การปฏิวัติเดือนมกราคม” ระหว่างปี ค.ศ. 1863 ถึงปี ค.ศ. 1864 และในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยความพยายามที่ล้มเหลวในการสร้างสหพันธรัฐ “Międzymorze” (ระหว่างทะเล) ของยูแซฟ ปิวซูตสกี (Józef Piłsudski) ซึ่งถ้าสำเร็จก็จะรวมพื้นที่จากฟินแลนด์ทางเหนือไปถึงบอลข่านทางใต้[44]

ในปัจจุบันประเทศโปแลนด์ถือว่ามีรากฐานมาจากเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย[45] แต่ประเทศลิทัวเนียซึ่งก่อตั้งใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อเริ่มได้รับอิสรภาพใหม่มองเห็นการรวมตัวเป็นเครือจักรภพในทางลบ[46] แต่ทัศนคตินี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[47]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

a. ^ ชื่อในภาษาอื่นและภาษาราชการ:

  • ละติน: Regnum Poloniae Magnusque Ducatus Lithuaniae / Serenissima Res Publica Poloniae[39]
  • ฝรั่งเศส: Royaume de Pologne et Grand-duché de Lituanie / Sérénissime République de Pologne et Grand-duché de Lituanie[48]
  • โปแลนด์: Królestwo Polskie i Wielkie Księstwo Litewskie
  • ลิทัวเนีย: Lenkijos Karalystė ir Lietuvos Didžioji Kunigaikštystė
  • เบลารุส: Каралеўства Польскае і Вялікае Княства Літоўскае (Karaleŭstva Polskaje і Vialikaje Kniastva Litoŭskaje)
  • ยูเครน: Королівство Польське і Велике князівство Литовське
  • เยอรมัน: Königreich Polen und Großfürstentum Litauen

b. ^ นักประวัติศาสตร์บางคนจัดวันที่เปลี่ยนเมืองหลวงจากกรากุฟไปเป็นวอร์ซอในช่วง ค.ศ. 1595 ถึง 1611 ถึงแม้ว่าวอร์ซอไม่ได้มีสถานะเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการจนถึง ค.ศ. 1793[49] เครือจักรภพแซย์มเริ่มจัดการประชุมที่วอร์ซอหลังจัดตั้งสหภาพลูบลินและผู้ปกครองได้ประทับที่นั่น แม้ว่าจะจัดพิธีราชาภิเษกที่กรากุฟ[49] แนวคิดเมืองหลวงเดียวในสมัยใหม่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในเครือจักรภพที่ใช้ระบอบศักดินาและการกระจายอำนาจ[49] นักประวัติศาสตร์บางคนจัดให้วอร์ซอเป็นเมืองหลวงของทั้งเครือจักรภพ[50][51] บางครั้ง วิลนอ เมืองหลวงของแกรนด์ดัชชี[52][53][54] ถูกจัดเป็นเมืองหลวงที่สองของเครือจักรภพ[55][56]

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

50°03′14″N 19°56′05″E / 50.05389°N 19.93472°E / 50.05389; 19.93472

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง