ภาษาตุรกี

(เปลี่ยนทางจาก Turkish language)

ภาษาตุรกี (ตุรกี: Türkçe , ทืร์กเช, Türk dili, ทืร์กดิลิ) มีอีกชื่อเรียกว่า ภาษาตุรกีอิสตันบูล[16][17][18] (İstanbul Türkçesi) หรือ ภาษาตุรกีแบบตุรกี (Türkiye Türkçesi) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด โดยมีผู้พูดประมาณ 70 ถึง 80 ล้านคน เป็นภาษาประจำชาติของประเทศตุรกี และชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตุรกีกลุ่มสำคัญในประเทศอิรัก, ซีเรีย, เยอรมนี, ออสเตรีย, บัลแกเรีย, มาซิโดเนียเหนือ,[19] นอร์เทิร์นไซปรัส,[20] กรีซ,[21] คอเคซัส และส่วนอื่นของยุโรปและเอเชียกลาง ประเทศไซปรัสเคยเสนอให้สหภาพยุโรปเพิ่มภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าประเทศตุรกีไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกก็ตาม[22]

ภาษาตุรกี
Türkçe (นาม, กริยาวิเศษณ์)
Türk dili (นาม)
ออกเสียงTürkçe: [ˈtyɾctʃe] ( ฟังเสียง)
Türk dili: เสียงอ่านภาษาตุรกี: [ˈtyɾc 'dili]
ประเทศที่มีการพูดตุรกี (ทางการ), นอร์เทิร์นไซปรัส (ทางการ), ไซปรัส (ทางการ), อาเซอร์ไบจาน, อิรัก, ซีเรีย, เลบานอน, กรีก, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, คอซอวอ, มาซิโดเนียเหนือ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ภูมิภาคอานาโตเลีย, บอลข่าน, ไซปรัส, เมโสโปเตเมีย, ลิแวนต์, ทรานส์คอเคเซีย
ชาติพันธุ์ชาวตุรกี
จำนวนผู้พูด75.7 ล้านคน (ประมาณ ค.ศ. 2002)[1] ถึงมากกว่า 80 ล้านคน (ประมาณ ค.ศ. 2021)[2]  (ไม่พบวันที่)
88 ล้านคน (ภาษาแม่ + ภาษาที่สอง)[3]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รูปแบบก่อนหน้า
ตุรกีอานาโตเลียเก่า
รูปแบบมาตรฐาน
ตุรกีอิสตันบูล
ภาษาถิ่น
ตุรกีไซปรัส
ตุรกีคารามันลือ
ตุรกีเมชเคเทีย[4]
ตุรกีรูเมเลีย
ตุรกีซีเรีย[5]
ระบบการเขียนละติน (อักษรตุรกี)
อักษรเบรลล์ตุรกี
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไซปรัส
นอร์เทิร์นไซปรัส
ตุรกี
องค์กร:
  • สภาเตอร์กิก
    Türksoy
    TAKM
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในบอสเนีย[6]
โครเอเชีย[7][8]
กรีซ[9]
อิรัก[2][a]
คอซอวอ[2][b]
มาซิโดเนียเหนือ[2][c]
โรมาเนีย[2][15]
ผู้วางระเบียบสมาคมภาษาตุรกี
รหัสภาษา
ISO 639-1tr
ISO 639-2tur
ISO 639-3tur
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a
  ประเทศที่ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการ
  ประเทศที่ยอมรับภาษาตุรกีเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย
  ประเทศที่ภาษาตุรกีเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยและภาษาร่วมทางการอย่างน้อยหนึ่งเทศบาล
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาตุรกีจากคอซอวอ

ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน

ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม

การจัดจำแนก

ภาษาตุรกีอยู่ในสาขาโอคุซของกลุ่มภาษาเตอร์กิก สมาชิกอื่น ๆ ในสาขาเดียวกันได้แก่ภาษาอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีผู้พูดในประเทศอาเซอร์ไบจานและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน ภาษากากาอุซในกาเกาเซีย ภาษาควาซไควในอิหร่านตอนใต้ และภาษาเติร์กเมนในประเทศเติร์กเมนิสถาน[23]

การจัดจำแนกกลุ่มภาษาเตอร์กิกนั้นซับซ้อน เพราะการอพยพของกลุ่มชนเตอร์กิกและผลสืบเนื่องจากการปะปนกันกับชนชาติที่ไม่ได้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก ทำให้เกิดสถานการณ์ทางภาษาที่มีความซับซ้อนมากมาย[23]

ยังมีข้อโต้แย้งว่ากลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาอัลไต ซึ่งมีภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเกาหลี, ภาษามองโกเลีย และกลุ่มภาษาตุงกูซิก หรือไม่[24] ทฤษฎีกลุ่มภาษายูรัล-อัลไตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมภาษาตุรกีเข้ากับภาษาฟินแลนด์, ภาษาฮังการี และตระกูลภาษาอัลไต ก่อให้เกิดเสียงโต้แย้ง[25] ทฤษฎีนี้มีการเทียบภาษาส่วนใหญ่จากสามคุณสมบัติหลัก ๆ คือ: การประกอบกันในภาษา, การสอดคล้องกลมกลืนของสระ และเพศทางไวยากรณ์[25]

ประวัติศาสตร์

จารึกของภาษากลุ่มเตอร์กิกเก่าสุดพบในบริเวณที่เป็นประเทศมองโกเลียปัจจุบัน จารึกบูคุตเขียนด้วยอักษรซอกเดียมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 .[26][27]จารึกอักษรออร์คอนมีอายุย้อนหลังไปได้ราว พ.ศ. 1275 – 1278 จารึกที่พบบริเวณหุบเขาออร์คอนจำนวนมากจัดเป็นภาษาเตอร์กิกโบราณเขียนด้วยอักษรออร์คอนที่มีลักษณะคล้ายอักษรรูนส์ในยุโรป[28]

ผู้คนที่พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกได้แพร่กระจายออกจากเอเชียกลางในยุคกลางตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16) โดยกระจายอยู่ตั้งแต่ยุโรปตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซบีเรีย กลุ่มโอคุซเติร์กได้นำภาษาของตนคือภาษาเตอร์กิกแบบโอคุซเข้าสู่อนาโตเลียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 16 .[29] ในช่วงนี้ได้มีนักภาษาศาสตร์ Kaşqarli Mahmud เขียนพจนานุกรมของภาษาเตอร์กิก

ภาษาตุรกีออตโตมัน

เมื่อศาสนาอิสลามแพร่มาถึงบริเวณนี้ เมื่อราว พ.ศ. 1393 ชาวเซลจุกเติร์กซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมออตโตมันได้ปรับการใช้ภาษาโดยมีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามาก วรรณคดีในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียมาก ภาษาในการเขียนและภาษาราชการในยุคจักรวรรดิออตโตมันเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาตุรกี ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย ซึ่งต่างจากภาษาตุรกีที่ใช้ในประเทศตุรกีปัจจุบันและมักเรียกว่าภาษาตุรกีออตโตมัน

การปรับรูปแบบของภาษาและภาษาตุรกีสมัยใหม่

ลักษณะเด่นของภาษาตุรกี คือใช้ตัว I ทั้งสองแบบเป็นอักษรคนละตัวกัน ได้แก่แบบมีจุด ออกเสียง อี และแบบไม่มีจุด ออกเสียง อือ หรือ เออ

อัตราการรู้หนังสือก่อนการปรับรูปแบบภาษาในตุรกี (พ.ศ. 2470) ในผู้ชายคิดเป็น 48.4% และผู้หญิงเป็น 20.7% [30] หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีและเปลี่ยนระบบการเขียน มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเมื่อ พ.ศ. 2475 สมาคมได้ปรับรูปแบบของภาษาโดยแทนที่คำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียด้วยคำดั้งเดิมของภาษาตุรกี[31] มีการสร้างคำใหม่โดยใช้รากศัพท์จากภาษาตุรกีโบราณที่เลิกใช้ไปนาน[32] ใน พ.ศ. 2478 ทาง TDK ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมสองรูปแบบระหว่างตุรกี-ออตโตมัน/ตุรกีบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับรูปแบบภาษา[33]

ผลจากการเปลี่ยนแปลงภาษาโดยกะทันหันนี้ทำให้คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ในตุรกีใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกัน คนรุ่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2483 ใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ส่วนคนที่เกิดหลังจากนั้นใช้คำศัพท์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ การปราศัยของอตาเติร์กในการเปิดประชุมสภาครั้งใหม่เมื่อ พ.ศ. 2470 ใช้ภาษาแบบออตโตมันซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกไปจากภาษาในปัจจุบันจนต้องมีการแปลเป็นภาษาตุรกีสมัยใหม่ถึงสามครั้งคือเมื่อ พ.ศ. 2506, 2529 และ 2538[34]

นอกจากนี้ สมาคมภาษาตุรกียังมีการเพิ่มศัพท์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งโดยมากมาจากภาษาอังกฤษ แต่ก็มีคำศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาแล้วแต่ไม่เป็นที่นิยม เช่น bölem (พรรคการเมือง) ถูกกำหนดให้ใช้แทนคำเดิมคือ firka แต่คำที่ใช้โดยทั่วไปเป็น parti จากภาษาฝรั่งเศส หรือบางคำใช้ในความหมายที่ต่างไปจากที่กำหนด เช่น betik (หนังสือ) ปัจจุบันใช้ในความหมายของระบบการเขียนในคอมพิวเตอร์[35] คำบางคำที่ถูกบัญญัติขึ้นใหม่ยังใช้ควบคู่กับศัพท์เดิมโดยคำศัพท์เดิมเปลี่ยนความหมายไปเล็กน้อย เช่น dert (มาจากภาษาเปอร์เซีย dard หมายถึงเจ็บปวด) ใช้หมายถึงปัญหาหรือความยุ่งยาก ส่วนความเจ็บปวดทางร่างกายใช้ ağrı ที่มาจากภาษาตุรกี ในบางกรณี คำยืมมีความหมายต่างไปจากคำในภาษาตุรกีเล็กน้อยแบบเดียวกับคำยืมจากภาษากลุ่มเยอรมันและภาษากลุ่มโรมานซ์ในภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างบางส่วนของศัพท์ตุรกีสมัยใหม่กับคำยืมสมัยก่อนดังนี้:

ตุรกีออตโตมันตุรกีสมัยใหม่แปลไทยคำอธิบาย
müsellesüçgenสามเหลี่ยมคำประสมระหว่างคำนาม üç ("สาม") และคำต่อท้าย -gen
tayyareuçakเครื่องบินมาจากรูปกริยา uçmak ("เพื่อบิน") ตอนเสนอครั้งแรกมีความหมายว่า "สนามบิน, ท่าอากาศยาน"
nispetoranอัตราส่วนศัพท์ยังคงมีการใช้ร่วมกับศัพท์ใหม่ในปัจจุบัน ศัพท์ปัจจุบันมีที่มาจากรูปกริยาภาษาเตอร์กิกเก่า or- ("เพื่อตัด")
şimalkuzeyเหนือมาจากคำนามภาษาเตอร์กิกเก่า kuz ("สถานที่ที่เย็นและมืด", "เงา") คำนี้ฟื้นฟูจากเตอร์กิกกลาง[36]
teşrinievvelekimตุลาคมคำนาม ekim หมายถึง "การกระทำที่เกี่ยวกับการปลูก" สื่อถึงการปลูกเมล็ดธัญพืชในฤดูใบไม้ร่ว ซึ่งพบได้ทั่วประเทศตุรกี

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ป้ายโฆษณาอีเกียในเบอร์ลินที่เขียนด้วยภาษาเยอรมันและตุรกี

ภาษาตุรกีเป็นภาษาแม่ของชาวตุรกีในประเทศตุรกีและชาวตุรกีพลัดถิ่นใน 30 ประเทศ ภาษาตุรกีสามารถเข้าใจร่วมกัน (mutually intelligible) กับภาษาอาเซอร์ไบจานและภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตุรกีในประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่ง (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ของจักรวรรดิออตโตมัน เช่นอิรัก[37], บัลแกเรีย, ไซปรัส, กรีซ (โดยหลักในเทรซตะวันตก), มาซิโดเนียเหนือ, โรมาเนีย และเซอร์เบีย มีผู้พูดภาษาตุรกีมากกว่าสองล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี และมีชุมชนที่พูดภาษาตุรกีในสหรัฐ, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรีย, เบลเยียม, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[38] เนื่องจากการกลืนกลายทางวัฒนธรรมของประเทศเจ้าถิ่นต่อผู้อพยพชาวตุรกี ทำให้สมาชิกชาติพันธุ์พลัดถิ่นทั้งหมดไม่สามารถพูดภาษาตุรกีอย่างเชี่ยวชาญเสมอไป[39]

ใน ค.ศ. 2005 ร้อยละ 93 ของประชากรตุรกีพูดภาษาตุรกีเป็นภาษาแม่[40] ในเวลานั้นมีผู้พูดประมาณ 67 ล้านคน ส่วนที่เหลือ จำนวนภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดรองลงมาคือภาษาเคิร์ด[41]

สถานะทางการ

ซ้าย: ป้ายสองภาษา ได้แก่ภาษาตุรกี (บน) และภาษาอาหรับ (ล่าง) ที่หมู่บ้านเติร์กเมนในเขตผู้ว่าการคีร์คูก ประเทศอิรัก
ขวา: ป้ายบนถนนที่พริสเรน ประเทศคอซอวอ ภาษาทางการได้แก่: ภาษาแอลเบเนีย (บน), ภาษาเซอร์เบีย (กลาง) และภาษาตุรกี (ล่าง)

ภาษาตุรกีเป็นภาษาทางการของประเทศตุรกีและเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศไซปรัส ภาษานี้มีสถานะเป็นภาษาทางการใน 38 เทศบาลของประเทศคอซอวอ เช่นมามูชา[42][43], สองแห่งที่มาซิโดเนียเหนือ และในเขตผู้ว่าการคีร์คูกในประเทศอิรัก[44][45]

ในประเทศตุรกี หน่วยงานที่กำกับดูแลภาษาตุรกีคือสมาคมภาษาตุรกี (Türk Dil Kurumu หรือ TDK) ซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1932 ภายใต้ชื่อ Türk Dili Tetkik Cemiyeti ("สมาคมวิจัยภาษาตุรกี") สมาคมภาษาตุรกีได้รับอิทธิพลในแนวคิดพิสุทธินิยมทางภาษา ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักในการแทนที่คำยืมและโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอื่นด้วยการบัญญัติศัพท์ภาษาตุรกี[46] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ร่วมกับการใช้อักษรตุรกีแบบใหม่ใน ค.ศ. 1928 ก่อให้เกิดภาษาตุรกีสมัยใหม่ในปัจจุบัน TDK กลายเป็นองค์กรอิสระใน ค.ศ. 1951 จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1983 โดยกลายเป็นหน่วยงานราชการตามรัฐธรรมนูญตุรกีฉบับปี 1982 หลังรัฐประหารใน ค.ศ. 1980[32]

สำเนียง

ภาษาตุรกีสมัยใหม่มีฐานจากสำเนียงอิสตันบูล[47] "ภาษาตุรกีแบบอิสตันบูล" (İstanbul Türkçesi) ถือเป็นแม่แบบของภาษาพูดและภาษาเขียน ตามคำแนะนำของ Ziya Gökalp, Ömer Seyfettin และคนอื่น ๆ[48]

สำเนียงอื่น ๆ ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าระดับอิทธิพลของสำเนียงมาตรฐานยังคงใช้งานในสื่อมวลชนและระบบการศึกษาตุรกีมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930[49] นักวิจัยทางวิชาการจากตุรกีมักเรียกสำเนียงตุรกีว่า ağız หรือ şive ทำให้เกิดความกำกวมในแนวคิดด้านภาษาของสำเนียง ซึ่งครอบคลุมมคำเหล่านี้ด้วย มหาวิทยาลัยบางแห่ง กับกลุ่มงานเฉพาะของสมาคมภาษาตุรกี ได้เริ่มโครงการค้นหาสำเนียงตุรกี ข้อมูลเมื่อ 2002 ยังคงมีการรวบรวมและตีพิมพ์ผลงานวิจัยของตนเป็นภาษาถิ่นครอบคลุมโลกสำเนียงภาษาตุรกี[50][51]

แผนที่กลุ่มย่อยหลักของสำเนียงภาษาตุรกีทั่วยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง

ชาวรูเมเลียบางส่วนที่อพยพไปยังประเทศตุรกีพูดภาษาตุรกีแบบรูเมเลีย ซึ่งรวมสำเนียง Ludogorie, Dinler และ Adakale ที่แสดงอิทธิพลของทฤษฎี Balkan sprachbund Kıbrıs Türkçesi เป็นชื่อเรียกภาษาตุรกีแบบไซปรัสและพูดโดยชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก สำเนียง เอดีร์แน ใช้พูดในเอดีร์แน Ege ใช้พูดในภูมิภาคอีเจียน โดยมีขอบเขตถึงอันทัลยา ชนร่อนเร่ Yörüks ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกีมีสำเนียงตุรกีเป็นของตนเอง[52]

สำเนียง Güneydoğu ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงใต้ถึงทางตะวันออกของแมร์ซิน Doğu สำเนียงหนึ่งในภูมิภาคอานาโตเลียตะวันออก มีความต่อเนื่องของภาษา ชาวเติร์กเมสเคเทียที่อาศัยอยู่ในประเทศคาซัคสถาน, อาเซอร์ไบจาน และรัสเซีย กับประเทศในเอเชียกลางบางส่วน สามารถพูดภาษาตุรกีสำเนียงอานาโตเลียตะวันออก โดยมีที่มาจากพื้นที่ใน Kars, Ardahan และ Artvin และมีความคล้ายกับภาษาอาเซอร์ไบจาน[53]

ภูมิภาคอานาโตเลียกลางพูด Orta Anadolu สำเนียง Karadeniz ใช้พูดในภูมิภาคทะเลดำทางตะวันออกและแสดงให้เห็นผ่านสำเนียงทรับซอน ได้รับอิทธิพลทางสัทวิทยาและวากยสัมพันธ์จากภาษากรีก[54] มันมีอีกชื่อว่า สำเนียงลาซ (ไม่ควรไปสับสนกับภาษาลาซ) คัสทาโมนู ใช้พูดในคัสทาโมนูและพื้นที่โดยรอบ ภาษาตุรกีคารามันลือใช้พูดในประเทศกรีซ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Kαραμανλήδικα เป็นมาตรฐานวรรณกรรมของชาวคารามันลือ[55]

เสียง

ภาษาตุรกีมีแต่สระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เมื่อสระสองตัวอยู่ใกล้กันซึ่งมักพบในคำยืมจะออกเสียงแยกกัน การเปลี่ยนเสียงสระเป็นเอกลักษณ์ของภาษาตุรกีโดยเสียงสระของปัจจัยจะเปลี่ยนไปตามสระของคำหลักเช่นปัจจัย –dir4 (มันเป็น, อยู่, คือ) เมื่อนำมาต่อท้ายศัพท์จะเป็น tükiyedir (มันเป็นไก่งวง) kapidır (มันเป็นประตู) gündür (มันเป็นวัน) paltodur (มันเป็นเสื้อคลุม) เป็นต้น

ไวยากรณ์

ภาษาตุรกีเป็นภาษารูปคำติดต่อ นิยมใช้การเติมปัจจัยข้างท้ายคำ [56] คำคำหนึ่งอาจเติมปัจจัยได้เป็นจำนวนมากเพื่อสร้างคำใหม่ เช่นการสร้างคำกริยาจากคำนาม การสร้างคำนามจากรากศัพท์คำกริยาเป็นต้น ปัจจัยส่วนใหญ่จะบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำนั้นๆ [57] สามารถสร้างคำที่มีความยาวมากๆจนมีความหมายเท่ากับประโยคในภาษาอื่นๆได้

คำนามไม่มีคำนำหน้าชี้เฉพาะ แต่มีการชี้เฉพาะวัตถุในคำลงท้ายแบบกรรมตรง ภาษาตุรกีมีคำนาม 6 การก คือ ประธาน ความเป็นเจ้าของ กรรมรอง กรรมตรง มาจาก ตำแหน่ง ซึ่งเปลี่ยนการลงท้ายด้วยการเปลี่ยนเสียงสระ คำคุณศัพท์มาก่อนคำนามที่ขยายคำคุณศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำนามได้ด้วย

คำกริยาในภาษาตุรกีจะแสดงบุคคลและสามารถแสดงความปฏิเสธ ความสามารถหรือไม่สามารถและแสดงกาล มาลา แลละความคาดหวังด้วย การปฏิเสธแสดงด้วยปัจจัย –me2 ที่มาก่อนปัจจัยอื่นๆของคำกริยา คำกริยาในภาษาตุรกีอาจรวมเป็นคำประกอบได้เพื่อให้ประโยคสั้นเข้า

การเรียงลำดับคำในภาษาตุรกีเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยาแบบเดียวกับภาษาญี่ปุ่นและภาษาละติน คำขยายมาก่อนคำที่ถูกขยาย สิ่งที่เน้นมาก่อนสิ่งที่ไม่เน้นคำที่มาก่อนกริยาต้องออกเสียงเน้นหนักในประโยคโดยไม่มีข้อยกเว้น

การเน้นหนักมักเน้นในพยางค์สุดท้าย ยกเว้นคำยืมจากภาษากรีกและภาษาอิตาลีบางกลุ่ม

คำศัพท์

ต้นตอของศัพท์ในภาษาตุรกี ซึ่งมี 104,481 คำ ในจำนวนนี้มีประมาณ 86% มีต้นตอจากภาษาตุรกีและ 14% มีต้นตอจากต่างชาติ

Büyük Türkçe Sözlük (พจนานุกรมใหญ่ภาษาตุรกี (Great Turkish Dictionary)) พจนานุกรมทางการของภาษาตุรกีที่ตีพิมพ์โดยสมาคมภาษาตุรกีฉบับ ค.ศ. 2010 มีศัพท์ สำนวน และคำนามที่รวมชื่อสถานที่และชื่อบุคคลทั้งหมด 616,767 คำ ทั้งจากภาษามาตรฐานและสำเนียง[58]

ใน Güncel Türkçe Sözlük พจนานุกรมทางการของภาษาตุรกีที่ตีพิมพ์โดยสมาคมภาษาตุรกีฉบับ ค.ศ. 2005 มีศัพท์ทั้งหมด 104,481 คำ ในจำนวนนี้มีประมาณ 86% ที่มีต้นตอจากภาษาตุรกี และ 14% มีต้นตอจากต่างชาติ[59] ในหวดหมู่ต้นตอต่างชาติ ศัพท์ต่างชาติที่มีส่วนในภาษาตุรกีมากที่สุดคือภาษาอาหรับ, ฝรั่งเศส, เปอร์เซีย, อิตาลี, อังกฤษ และกรีก[60]

ระบบการเขียน

อาทาทืร์คแนะนำตัวอักษรตุรกีแบบใหม่ให้กับผู้คนในคัยเซรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1928 (หน้าปกจากวารสารฝรั่งเศส L'Illustration)

มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คได้นำอักษรละตินมาใช้ในภาษาตุรกีแทนที่อักษรตุรกีออตโตมันใน ค.ศ. 1928 เดิมภาษาตุรกีเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ แต่อักษรแบบดังกล่าวมีรูปเขียนสำหรับเสียงสระยาวเพียงแค่สามรูป (ā, ū และ ī ยาว) และยังมีอักษรบางตัวที่แทนเสียงที่ซ้ำกัน เช่นรูปอักษร z (ซึ่งซ้ำกันในภาษาตุรกี แต่ไม่ซ้ำในภาษาอาหรับ คล้ายกับอักษรไทยที่มีทั้ง ศ ษ และ ส ซึ่งมาจากอักษรที่แทนเสียงที่แตกต่างกันในภาษาสันสกฤต) มีการอ้างว่าการละเว้นสระเสียงสั้นในอักษรอาหรับไม่เหมาะกับภาษาตุรกีที่มี 8 สระ[61]

การปฏิรูปอักษรเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปทางวัฒนธรรมในสมัยนั้น การจัดเตรียมตัวอักษรแบบใหม่รวมทั้งการเลือกอักษรเพิ่มเติมจากอักษรละตินแบบมาตรฐานนั้นเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการภาษา ซึ่งประกอบด้วยนักภาษาศาสตร์ นักวิชาการ และนักเขียน ระบบการเขียนแบบใหม่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การศึกษาของรัฐตามภูมิภาคต่าง ๆ และยังได้รับความร่วมมือจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งความพยายามของอตาเติร์กเอง ที่ได้เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อสอนระบบการเขียนแบบใหม่นี้[62] ผลที่ตามมา ทำให้มีผู้อ่านหนังสือออกจากโลกที่สามเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก[63]

อักษรตุรกีในปัจจุบันเป็นตัวอักษรที่เทียบให้เหมาะกับเสียงของภาษา รูปสะกดส่วนใหญ่เป็นไปตามสัทศาสตร์ นั่นคือหนึ่งอักษรแทนหนึ่งหน่วยเสียง[64] โดยตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้เหมือนกับภาษาอังกฤษ ยกเว้นอักษร ⟨c⟩ ที่ออกเสียงเป็น [dʒ] (⟨j⟩ ใช้สำหรับเสียง [ʒ] ที่พบในคำยืมภาษาเปอร์เซียและยุโรป); และ ⟨ı⟩ ไร้จุดใช้สำหรับเสียง [ɯ] อักษร ⟨ö⟩ และ ⟨ü⟩ ใช้สำหรับเสียง [ø] และ [y] เหมือนภาษาเยอรมัน ส่วนอักษร ⟨ğ⟩ ตามหลักออกเสียงเป็น [ɣ] แต่สามารถขยายเสียงสระก่อนหน้าและรวมสระใด ๆ ถัดจากมันได้ อักษร ⟨ş⟩ และ ⟨ç⟩ ใช้สำหรับเสียง [ʃ] และ [tʃ] ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายบนสระที่ใช้เขียนบนเสียงสระหลังถัดจากอักษร ⟨k⟩ และ ⟨g⟩ เมื่อมีเสียงพยัญชนะ [c] และ [ɟ] นำหน้า (เกือบทั้งหมดใช้สำหรับคำยืมภาษาอาหรับและเปอร์เซีย)[65]

ภาษาตุรกีประกอบด้วยอักษร 29 ตัว (ไม่มีอักษร q, x, w และเพิ่มอักษร ç, ş, ğ, ı, ö, ü) ดังนี้:

a, b, c, ç, d, e, f, g, ğ, h, ı, i, j, k, l, m, n, o, ö, p, r, s, ş, t, u, ü, v, y, และ z (หมายเหตุ: i พิมพ์ใหญ่คือ İ และ I พิมพ์เล็กคือ ı)

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Akalın, Şükrü Haluk (January 2003). "Türk Dil Kurumu'nun 2002 yılı çalışmaları (Turkish Language Association progress report for 2002)" (PDF). Türk_Dili (ภาษาตุรกี). 85 (613). ISSN 1301-465X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 27, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
  • Bazin, Louis (1975). "Turcs et Sogdiens: Les Enseignements de L'Inscription de Bugut (Mongolie), Mélanges Linguistiques Offerts à Émile Benveniste". Collection Linguistique, Publiée Par la Société de Linguistique de Paris (ภาษาฝรั่งเศส) (LXX): 37–45.
  • Brendemoen, B. (1996). Phonological Aspects of Greek-Turkish Language Contact in Trabzon. Conference on Turkish in Contact, Netherlands Institute for Advanced Study (NIAS) in the Humanities and Social Sciences, Wassenaar, 5–6 February 1996.
  • Encyclopaedia Britannica, Expo 70 Edition Vol 12. William Benton. 1970.
  • Coulmas, Florian (1989). Writing Systems of the World. Blackwell Publishers Ltd, Oxford. ISBN 0-631-18028-1.
  • Dilaçar, Agop (1977). "Atatürk ve Yazım". Türk Dili (ภาษาตุรกี). 35 (307). ISSN 1301-465X. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.
  • Ergin, Muharrem (1980). Orhun Abideleri (ภาษาตุรกี). Boğaziçi Yayınları. ISBN 0-19-517726-6.
  • Findley, Carter V. (October 2004). The Turks in World History. Oxford University Press. ISBN 0-19-517726-6.
  • Glenny, Misha (2001). The Balkans: Nationalism, War, and the Great Powers, 1804-1999 (ภาษาอังกฤษ). New York: Penguin.
  • Johanson, Lars (2001). Discoveries on the Turkic linguistic map (PDF). Stockholm: Svenska forskningsinstitutet i Istanbul. ISBN 978-91-86884-10-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 5, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
  • Ishjatms, N. (October 1996). "Nomads In Eastern Central Asia". History of civilizations of Central Asia. Vol. 2. UNESCO Publishing. ISBN 92-3-102846-4.
  • Lewis, Geoffrey (1953). Teach Yourself Turkish. English Universities Press. ISBN 978-0-340-49231-4. (2nd edition 1989)
  • Lewis, Geoffrey (2001). Turkish Grammar. Oxford University Press. ISBN 0-19-870036-9.
  • Lewis, Geoffrey (2002). The Turkish Language Reform: A Catastrophic Success. Oxford University Press. ISBN 0-19-925669-1.
  • Özsoy, A. Sumru; Taylan, Eser E., บ.ก. (2000). Türkçe'nin ağızları çalıştayı bildirileri [Workshop on the dialects of Turkish] (ภาษาตุรกี). Boğaziçi Üniversitesi Yayınevi. ISBN 975-518-140-7.
  • Soucek, Svat (2000). A History of Inner Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65169-1.
  • Vaux, Bert (2001). "Hemshinli: The Forgotten Black Sea Armenians" (PDF). Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 15, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
  • Zimmer, Karl; Orgun, Orhan (1999). "Turkish" (PDF). Handbook of the International Phonetic Association: A guide to the use of the International Phonetic Alphabet. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 154–158. ISBN 0-521-65236-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.

ข้อมูลออนไลน์

อ่านเพิ่ม

  • Eyüboğlu, İsmet Zeki (1991). Türk Dilinin Etimoloji Sözlüğü [Etymological Dictionary of the Turkish Language] (ภาษาตุรกี). Sosyal Yayınları, İstanbul. ISBN 978975-7384-72-4.
  • Özel, Sevgi; Haldun Özen; Ali Püsküllüoğlu, บ.ก. (1986). Atatürk'ün Türk Dil Kurumu ve Sonrası [Atatürk's Turkish Language Association and its Legacy] (ภาษาตุรกี). Bilgi Yayınevi, Ankara. OCLC 18836678.
  • Püsküllüoğlu, Ali (2004). Arkadaş Türkçe Sözlük [Arkadaş Turkish Dictionary] (ภาษาตุรกี). Arkadaş Yayınevi, Ankara. ISBN 975-509-053-3.
  • Rezvani, B. "Türkçe Mi: Türkçe’deki İrani (Farsca, Dimilce, Kurmançca) Orijinli kelimeler Sözlüğü.[Turkish title (roughly translated): Is this Turkish? An etymological dictionary of originally Iranic (Persian, Zazaki, and Kurmanji Kurdish) words]." (2006).

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง